banner
พุธ ที่ 4 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2559 แก้ไข admin

ขายของ ......เลี้ยงชีวิต ตอน สาม

นางสาวทองพูล  บัวศรี

ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

 

                                เมื่อเดินทางมากัมพูชาครั้งนี้เป็นครั้งที่สี่ เป็นการเดินทางอย่างเป็นทางการ ในช่วงหลังนี้เดินทางเข้าประเทศกัมพูชาปีละอย่างน้อยหนึ่งครั้ง แต่ละครั้งงานการก่อสร้างทุกงานคืบหน้าไปอย่างรวดเร็วมากมีตึกในเมืองใหญ่ผุดขึ้นจำนวนมาก  แต่ก็แปลกใจกับพบคนกัมพูชาหนีความแล้งแค้นเข้ามาประเทศไทยเพิ่มทวีคุณ ซึ่งมีทั้งกลุ่มที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย กับกลุ่มที่เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย  และกลุ่มที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยกว่าเป็นสิบปี แต่ในการเดินมามาครั้งนี้แบบเป็นทางการโดยมาผ่านเครื่องบินที่บินจากสุวรรณภูมิตรงไปที่เมืองเสียมราฐเลย สิ่งที่เราพบ  ได้เห็นเด็กส่วนหนึ่งที่เคยแบมือขอทาน  แต่ได้เห็นหลายคนขายของที่ระลึกแลกกับเงินของนักท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่  ในทัศนะของผู้เขียนถือว่าเป็นการทำงานแลกเงิน  เป็นการทำงานนะ


   

                                การเรียนรู้การทำงานด้านคนบนถนน ซึ่งมีทั้งเด็กเร่ร่อน เด็กวัยรุ่นเร่ร่อน ครอบครัวเร่ร่อน คนไร้บ้าน ผู้สูงอายุเร่ร่อน คนพิการเร่ร่อน  ตลอดกลุ่มคนด้อยโอกาสต่างๆที่ใช้ถนนเป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่ทำมาหากิน  ตลอดจนเป็นสถานที่ตาย โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโครเอดส์ โรควัณโรค  ซึ่งในประเทศอาเซียนกำลังเผชิญกับโรคเหล่านี้ กลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงก็คือคนบนถนน สำหรับในประเทศกัมพูชา เด็กเร่ร่อนเองเคยขอทานเลี้ยงชีพ  ในการเดินทางมาครั้งนี้บอกได้เลยว่า เห็นแต่เด็กที่ขายสินค้าที่ระลึกแลกกับการได้มาซึ่งเงิน เป็นบางสถานที่ที่เท่านั้นที่ยังเห็นเด็กเร่ร่อนขอทานอุ้มลูกตัวเล็กๆมาขอเงินอย่างเปิดเผย


                                เรื่องเด็กที่ออกมาทำงานแลกเงิน หรือขายของแลกเงิน  ตามความรู้สึกเป็นเรื่องปกติที่เด็กต้องทำงานช่วยเหลือครอบครัวนะ ในทัศนะของผู้เขียน  การทำงานที่ไม่ผิดกฎหมายแรงงาน  แต่สหประชาชาติกับกำหนดใน อนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 182 (พ.ศ.2542) ว่าด้วยการห้ามและการดำเนินการ  โดยทันทีเพื่อการขจัดรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก  รูปแบบที่เลวร้ายได้แก่

 (ก) ทุกรูปแบบของการใช้ทาส หรือแนวปฏิบัติที่คล้ายกับการใช้ทาส เช่นการขาย และการขนส่งเด็ก แรงงานขัดหนี้ แรงงานไพร่ติดที่ดิน แรงงานบังคับหรือเรียกเกณฑ์ ซึ่งรวมถึงการบังคับหรือเรียกเกณฑ์เด็กเพื่อใช้ในการสู้รบ

           (ข) การใช้ จัดหาหรือเสนอเด็กเพื่อการค้าประเวณีเพื่อการผลิตสื่อลามก หรือเพื่อการแสดงลามก

 (ค) การใช้ จัดหาหรือเสนอเด็กเพื่อกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะเพื่อการผลิต และขนส่งยาเสพติดตามที่นิยามไว้ใน สนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

 (ง) งานซึ่งโดยลักษณะของงาน หรือโดยสภาพแวดล้อมในการทำงานมีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ความปลอดภัย หรือศีลธรรมของเด็ก


                แต่เด็กเร่ร่อนในกัมพูชาที่ต้องใช้แรงงานตัวเองหาเลี้ยงชีพและครอบครัว ซึ่งพวกเขาไม่รังเกียจว่าต้องทำอะไร  แม้แต่การขายเลือด การขายบริการทางเพศ การขนยาเสพติด  หรือบางคนก็ต้องทำงานหนัก ถึงค่าแรงที่ได้อาจะจะไม่มากพอ  แต่ยอมจำนนทำเพื่อให้ได้เงินมาเลี้ยงคนในครอบครัว สิ่งที่เด็กสามารถทำได้ที่เห็นในกัมพูชา

(1)        การขายของเป็นจำนวนของกิน  เช่นมะยมดอง มะขามดอง มะม่วงดอง ฝรั่งดอง  หอยต้ม หอยคั่ว เป็นต้น  จนถึงขนมที่เด็กทำเอง เช่นขนมต้ม ขนมถั่วแบป  ขนมปังใส่ถุงสะพ่ายขาย  เด็กจะเอาสิ่งของเหล่านี้เทินหัว  เดินไปตามสถานีท่องเที่ยว แต่จะเห็นมากระหว่างชายแดน ทั้งตลาดโรงเกลือ  ด่านแหลมเจริญ  และในเมืองท่องเที่ยวเองด้วยทั้งเสียมราฐ  พนมเปญ เป็นต้น

(2)        กลุ่มที่ขายโปสเตอร์กับหนังสือท่องเที่ยวที่เป็นภาษาอังกฤษ  เป็นกลุ่มที่เป็นนักตื้ออย่างจริงจัง  กลุ่มนี้ส่วนมากจะไปต่อรองและขายสินค้ากับชาวต่างชาติที่เป็นฝรั่ง  เพราะเด็กบอกว่าเป็นกลุ่มเดียวที่ชอบซื้อหนังสืออ่าน ดูภาพสวย สวย เวลาเที่ยวเขาจะเอาไปเปรียบเทียบกับของจริง  หนังสือที่ภาพสวย  จึงเป็นที่ต้องการของฝรั่ง  หนังสือเหล่านี้เวลาขายได้เล่มหนึ่งในแต่ละวันก็คุ้มเพราะเราอ่านเป็นเงินดอลล่าห์  พวกเราจะไปหาซื้อหนังสือเก่าเก็บมาทำความสะอาดใหม่  ทำปกใหม่หมด  เวลานักท่องเที่ยวดูก็จะรู้สึกว่าเป็นของใหม่ เราก็ใช้เสนอราคาเต็ม ลดได้ไม่เกิน 15 เปอน์เซ็นต์ เราตั้งราคาสูงไว้ก่อน อย่างไรก็ถูกกว่าหนังสือในร้าน  โปส์เตอร์ภาพสวย สวย ก็เช่นเดียวกัน  พยายามขายคู่กันว่าเมื่อดูหนังสือที่ละหน้า แล้วเอาโปส์เตอร์มาเทียบกับภาพในหนังสือ  ภาพบนโปส์เตอร์สวยกว่า  เพราะฉนั้นซื้อคู่กันเลย

(3)        กลุ่มเด็กเครื่องดนตรีของกัมพูชา  มีทั้งเครื่องสาย ขลุ่ย กลอง  เวลาที่เด็ก เด็กคนขายเขาตีให้กลุ่มนักท่องเที่ยวดู หรือตีให้ฟังไพเราะมาก  แต่เมื่อซื้อกลับมาถึงเมืองไทยแล้ว เสียงขลุ่ยก็ไม่ดัง กลองก็แยกเป็นชิ้น ชิ้น  น่าแปลกมากแต่เป็นเรื่องจริง  นักท่องเที่ยวที่ได้สัมผัสบอกได้คำเดียวว่าบางคนก็เอาเปรียบเด็กที่ขายมากเกินไป  ต่อราคากันจนสงสารเด็ก  เพราะราคาส่งที่เด็กเหล่านี้ไปซื้อมาจากพ่อ แม่ค้า ชิ้นหนึ่งจะได้กี่บาท  กลายเป็นความสนุกสนานของคนซื้อแต่คนขายก็อยากขาย  บางครั้งก็บอกให้เด็กเดินไปไม่อย่างนั้นเธอขาดทุนแน่นอน  แต่เด็กก็ต้องขายให้ได้จึงใช้วิธีการอ้อนวอน  ใช้การเคาะกระจก ต่อรอง พอได้สมราคากันก็หมุนกระจกลงออกมา   ถ้ารถกำลังจะออกแล้วเด็กวิ่งตามซึ่งอันตรายมาก   ถามไกด์ว่าเกิดอุบัติเหตุกันบ่อยไหม  เขาได้แต่พยักหน้า   แล้วก็พูดต่อว่าเด็กเหล่านี้ทุกทำทุกอย่างที่จะให้นักท่องเที่ยวควักสตางค์ออกมาจากกระเป๋า  

(4)        กลุ่มที่ขายของที่ระลึก พ่วงกุญแจ  ภาพวาด ไม้แกะสลัก  กลุ่มนี้เน้นนักท่องเที่ยวทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มที่เพิ่งลงมารถบัส  ที่เห็นเน้นไปที่นักท่องเที่ยวจีน ไต้หวัน ฮ่องกง จะเดินตามเป็นขบวนเลย  ซึ่งกลุ่มนี้เน้นของราคาถูก  สินค้าที่ส่งให้นักท่องเที่ยวจะเป็นอีกราคาหนึ่ง แต่เมื่อนักท่องเที่ยวจ่ายเงินรับของแล้วสิ่งที่ได้รับจะเป็นสินค้าที่เกรดต่ำ   แต่นักท่องเที่ยวเหล่านี้ไม่คอยสนใจเพราะถือว่าได้ของราคาถูกกว่าตลาด  จึงเป็นกลยุทธ์ในการค้าของเด็ก

เด็กชาย เซีย..  (ไม่มีนาสกุล) เคยติดตามพ่อแม่มาอยู่ในแหล่งก่อสร้างเมืองไทย  เคยมาอยู่เมืองไทยกว่า 4 ปี  มาเลี้ยงน้องและหลาน  อยู่ในไซด์งานก่อสร้าง  ขายพ่วงกุญแจ กับภาพวาด ทั้งสองสิ่งนี้จะไปรับมาจากแม่ค้าในตลาด  เมื่อก่อนดูแลน้องกับหลานอย่างเดียว เพราะพ่อกับแม่ใหเน้องมาเรียนที่กัมพูชา  ตัวเองไม่ได้เรียนหนังสือเลยแค่พูดได้  เขียนไม่ได้ แต่ก่อนไม่มีการขึ้นทะเบียน เด็ก เด็ก ก็ตามพ่อแม่มาได้  แต่ตอนนี้ยังเสียค่าใช้จ่ายแพงมาก พ่อกับแม่จึงให้ผมอยู่ดูแลน้อง  เงินที่พ่อแม่ส่งมาไม่พอกับค่ากินอยู่สี่คน จึงพาน้องมาขายของในช่วงโรงเรียนปิดเรียน  บางวันก็มาช่วงเย็น พอได้เป็นค่าอาหาร และค่าเรียนน้องสามคน พวกผมก็ต้องทำ  บางวันก็ไม่ได้เลย  พวกผมใช้ปั่นจักรยานกันมา กว่า สี่กิโลเมตร  สินค้าเหล่านี้ต้องเอามาก่อนพอขายได้เอาทุนไปคืน  กว่าจะได้กำไรสักสิบบาทหรือยี่สิบบาทนานมากคะ  ขายแพงก็ไม่มีคนซื้อ  ยกเว้นเจอนักท่องเที่ยวใจดีซื้อของแบบเหมา  ถามว่าอยากมาเมืองไทยอีกไหม  น้องเซีย...อยากมาอยากอ่าน อยากเขียนภาษาไทยได้   อย่างน้อยก็กินอิ่มครับ   ราคาอาหารเมืองไทยถูกกว่า คิดถึงพ่อกับแม่ด้วย...


(5)        กลุ่มที่ขายแรงงานของตัวเอง ซึ่งเป็นงานใหม่คือการบีบนวดนักท่องเที่ยวเวลาที่นักท่องเที่ยวไปเที่ยวที่โตเลสาบ  งานนี้เด็กที่ขยันก็จะได้ค่านวดจากนักท่อง  ยิ่งเป็นนักท่องเที่ยวจะให้มากเพราะถือว่าเด็กทำงานดีกว่าที่จะไปนั่งขอทาน  ส่วนเด็กที่นวดและเป็นลูกหลานของคนเรื่อ หรือมาเป็นอาสาเด็กในเรือง

ชีวิตทุกชีวิต เด็กทุกคนจะต้องกตัญญูกับพ่อแม่  เราจึงเห็นเด็กทุกคนต้องทำงานเลี้ยงครอบครัว  บางคนก็ต้องดูแลน้องหรือเป็นหัวหน้าครอบครัวดูแลเด็ก เด็ก แทนพ่อแม่  เป็นภาระที่ยิ่งใหญ่  แต่ทุกคนบอกว่าทำได้ขอให้คนในครอบครัวได้มีอยู่มีกิน เด็กเลยกลายเป็นแรงงานที่สำคัญอีกแรงงานหนึ่งซึ่งมีมูลค่าราคาสำหรับครอบครัวชาวกัมพูชา  อิ่มก่อนเรื่องอื่นค่อยว่ากัน  ไม่ได้กินคือความอดตาย...ถ้าไม่อดตายต้องทำงานไม่มีของฟรีหรอกครู  สำหรับคนกัมพูชา  เสียงแม่เด็กบอก...