banner

เกี่ยวกับมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก....เป็นหน่วยงานที่มีสถานรองรับเด็กด้อยโอกาสทางสังคม ได้แก่ เด็กเร่ร่อน เด็กลูกกรรมกรก่อสร้าง เด็กกําพร้า เด็กพ่อแม่ต้องโทษจําคุก เด็กถูกทารุณกรรม เด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ เป็นต้น พร้อมกับมีการแก้ไขปัญหาของเด็กโดยการ ฟื้นฟู และพัฒนา ให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาตนตามศักยภาพของเด็กแต่ละคน ภายใต้บรรยากาศแห่งความอบอุ่น ความรัก ความเข้าใจ การให้อภัย และการให้โอกาส ตลอดจนให้ได้รับการศึกษา และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม โดยเปิดบ้านรองรับเด็ก 2 หลัง คือ บ้านอุปถัมภ์เด็ก และบ้านสร้างสรรค์เด็ก

มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก....เป็นหน่วยงานที่ริเริ่มการทํางานเชิงรุก โดยการนําครูรุกเข้าไปหากลุ่มเป้าหมาย โดยมีวิธีการกลไกที่เหมาะสม ที่ช่วยเหลือแก้ไข ฟื้นฟู พัฒนา เด็กและเยาวชนเพื่อให้เด็กเหล่านั้นสามารถคืนสู่สังคมอย่างประณีต การทํางานที่ไม่คำนึงถึงมติเวลาการทํางาน เน้นเวลาที่ลงไปถึงกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก โดยกลุ่มเป้าหมายได้ประโยชน์สูงสุด และสามารถพัฒนาและพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งได้แก่ โครงการศูนย์เด็กก่อสร้าง โครงการครูข้างถนน โครงการรถความรู้เคลื่อนที่สู่ชุมชน โครงการครูสัญจร และโครงการช่วยเหลือเด็กและครอบครัว

มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก....เป็นหน่วยงานที่เป็นแหล่งการเรียนรู้และการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ให้กับนักเรียน นิสิต นักศึกษา เป็นสถานที่ฝึกงาน,ฝึกอบรม ตลอดจนการศึกหาหาข้อมูล นักวิชาการและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องในการวางแผนนโยบาย ยุทธศาสตร์ จะใช้ข้อมูลที่ “ศูนย์ข้อมูลของมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก” เป็นข้อมูลเชิงวิชาการ ทํางานวิจัยและวิทยานิพนธ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเด็กด้อยโอกาสทางสังคม

มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก....เป็นหน่วยงานริเริ่มการทํางานอาสาสมัคร จากประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ในหลากหลายรูปแบบ เช่น การเข้ามาเป็นอาสาสมัครในการทํางานของมูลนิธิฯ เช่น อาสาสมัครพิทักษ์เด็กเร่ร่อน อาสาสมัครเยาวชนสร้างสรรค์ เป็นต้น บางส่วนเป็นผู้บริจาคทรัพย์สินและงบประมาณในการดาเนินงานของมูลนิธิฯ ตลอดจนการเข้ามาเป็นพ่อแม่อุปถัมภ์เด็ก และเข้ามาเลี้ยงอาหารเด็กตามความสมัครใจ และเป็นผู้เผยแพร่การทางานของมูลนิธิฯในระดับกว้าง

มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก....เป็นหน่วยงานที่มีการทํางานเชื่อมโยงกับองค์กรพัฒนาเอกชน และภาครัฐ โดยการทํางานเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เช่น ริเริ่มการจัดตั้ง “เครือข่ายองค์กรเพื่อเด็กเร่ร่อน” “เครือข่ายองค์กรเพื่อเด็กลูกกรรมกรก่อสร้าง” ตลอดจนการทํางานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนในการจัดงานเวทีสิทธิเด็กอย่างต่อเนื่อง คือ คณะทํางานด้านเด็ก และเครือข่ายคนทางานเพื่อเด็ก และร่วมผลักดันสํานักงานตํารวจแห่งชาติได้ตั้ง “ศูนย์พิทักษ์เด็ก เยาวชน และสตรี สํานักงานตํารวจแห่งชาติ” โดยมีโครงการกองปราบจิ๋วเพื่อให้เด็กได้มาร่วมอบรมและพัฒนาตนเองให้เท่าทันต่อการล่อลวงรูปแบบต่างๆ ผลักดันให้โรงพักมีห้องสอบสวนเด็ก, ห้องชี้ตัวเด็ก, พนักงานสอบสวนหญิงและการทํางานเป็นทีมสหวิชาชีพ และโครงการนักเรียนนายร้อยสัมผัสปัญหาชุมชนอย่างต่อเนื่องและรวมถึงจัดตั้ง “ศูนย์พิทักษ์และช่วยเหลือเด็กทางการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ” โดยได้ดําเนินการทําเรื่อง รับแจ้งเหตุเด็กถูกละเมิด และให้ความเป็นธรรมแก่เด็กอย่างเร่งด่วน. รับเรื่องราวร้องทุกข์จากเด็กนักเรียนที่ถูกให้ออกหรือไล่ออกจากโรงเรียน, เปิดกลไกของกระทรวงศึกษาธิการ ให้เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาสกลุ่มต่างๆ เข้ารับการศึกษาได้อย่างทั่วถึง และเปิดมิติของความหลากหลายทางการศึกษาให้มีการปฏิบัติมากขึ้น เพื่อ “ให้เด็กทุกคนต้องได้เรียนและได้รับการปกป้องคุ้มครอง”

มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก....ริเริ่มและการพัฒนา “อดีตเด็กเร่ร่อน เด็กลูกกรรมกรก่อสร้าง” มาทํางานพัฒนาช่วยเหลือเด็กในรูปแบบ “ผู้ช่วยครูข้างถนน และผู้ช่วยครูเด็กก่อสร้าง” และพัฒนาเป็นเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯ จํานวน 6 คนโดยการเปิดโอกาสในการเรียนหนังสือและการเรียนรู้วิธีการต่างๆที่ช่วยเหลือน้องๆ ให้พ้นจากการเป็นเด็กเร่ร่อน เด็กลูกกรรมก่อสร้าง ทั้งด้านการพัฒนาการทํางานด้วยการศึกษาดูงาน,อบรม,เข้าประชุม,แลกเปลี่ยนการทํางาน เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักให้เห็นคุณค่า ศักยภาพของตนเองและเป็นทรัพยากร ทุนทางสังคมที่มีคุณค่า พร้อมที่จะไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคมต่อไป

มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก....ผลักดันให้เกิดนโยบายและแผนพัฒนาเกี่ยวกับเด็กด้อยโอกาส โดย ปี 2534 ได้ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเด็ก โดยพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กเร่ร่อน เด็กลูกกรรมกรก่อสร้าง เด็กกําพร้า ฯลฯ เป็นเด็กที่ขาดเอกสารหลักฐาน,ใบเกิด,ทะเบียนบ้าน ที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนที่สังกัดกรุงเทพมหานคร และสังกัดสานักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ ไม่รับเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนต่างๆ จึงได้มีการทําหนังสือถึงปลัดกระทรวงศึกษาธิการหาแนวทางแก้ไขกระทั่ง กระทรวงศึกษาธิการได้ออก

“ระเบียบว่าด้วยหลักฐาน วันเดือน ปีเกิด ในการรับนักเรียน นักศึกษาเข้าเรียน ในสถานศึกษา พ.ศ.2535 และแนวปฏิบัติ ในการจัดการศึกษาสาหรับเด็กที่ไม่มีหลักฐาน ทะเบียนราษฎรและเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทย”

สําหรับโรงเรียนสังกัดสํานักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ให้รับเด็กทุกคนเข้าเรียนไว้ก่อนแล้วให้ระยะเวลาในการหาหลักฐานของเด็ก โดยมีโรงเรียนนําร่องหลายโรงเรียน เช่น โรงเรียนวัดเทวสุนทร โรงเรียนวัดหลักสี่ โรงเรียนตลิ่งชัน เป็นต้น แต่โรงเรียนที่สังกัดสานักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติยังไม่อนุญาตให้เด็กเข้าเรียนจนกระทั่งปี 2541 ได้มีคาสั่งจากรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ให้ทุกหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงปฏิบัติตามระเบียบข้างต้น และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมติของคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ ในปี 2549 และร่วมผลักดันการแก้ไข ปว.294,ปว 132 ที่ใช้มาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะเรื่องการทํางานช่วยเหลือเด็กเร่ร่อน จนแก้ไขเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546

มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก....ในปี 2535 ได้ผลักดันให้ทางสํานักสวัสดิการสังคม กรุงเทพมหานคร จัดดําเนินการ โครงการครูอาสาสอน ในแหล่งก่อสร้างและเด็กเร่ร่อน โดยร่วมกับคณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทางมูลนิธิฯพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทุกท่านได้จัดฝึกอบรมครูอาสาในภาคปฏิบัติ ในพื้นที่ที่ทางมูลนิธิทํางานอยู่ ในระยะเวลา 3 สัปดาห์ แล้วจึงกลับไปปฏิบัติงานในหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร ในขณะนี้ทางสานักสวัสดิการสังคมยังดาเนินโครงการต่อเนื่องและร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายองค์กรเพื่อเด็กเร่ร่อน และเครือข่ายองค์กรทางานเพื่อเด็กลูกกรรมกรก่อสร้าง โดยมีคณะครูอาสาสอนเด็กเล็กในแหล่งก่อสร้าง จานวน 10 คน คณะครูอาสาสอนเด็กเร่ร่อน จนพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้เด็กด้อยโอกาส จํานวน 10 คน พร้อมมีอาสาสมัครหนุ่มสาวที่เข้าไปเรียนรู้งานจํานวนมาก

มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก....ในปี 2535 เป็นมา ได้เริ่มขยายแนวความคิดเกี่ยวกับการทํางานช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนไปยังส่วนภูมิภาค ซึ่งได้แก่ มูลนิธิเพื่อชีวิตเด็ก จังหวัดอุดรธานี, มูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคล,โครงการช่วยเหลือเด็ก จังหวัดขอนแก่น, บ้านเด็กพระมหาไถ่พัทยา จังหวัดชลบุรี,โครงการพัฒนาเด็กด้อยโอกาส(พื้นที่สะพานพุทธ),กลุ่มพันธกิจเพื่อสังคม จังหวัดสมุทรปราการ,โครงการสร้างสรรค์เด็กเวียงพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ โครงการสร้างสรรค์เด็กสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นต้น แล้วได้ดําเนินการต่อเนื่องขยายไปยัง กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาลและมหานครเทศบาล)ที่จัดครูอาสาสอนไปดําเนินการตามจังหวัดต่างๆ19 จังหวัด และในปี 2544 ได้ขยายไปยังโครงการครูตํารวจรถไฟข้างถนน และครูตํารวจข้างถนนที่ดําเนินการต่อเนื่องในปัจจุบัน และในปี 2545 ทางกรมการศึกษานอกโรงเรียน ได้ดําเนินโครงการจัดการศึกษานอกโรงเรียนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเด็กเร่ร่อน จานวน 17 จังหวัด

มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก....ป็นหน่วยงานที่ริเริ่มการมีส่วนของบริษัทรับเหมาก่อสร้างเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กลูกกรรมกรก่อสร้างที่ ที่เรียกว่า CSR : Corporate Social Responsibility ความรับผิดชอบร่วมกันในการพัฒนาสังคม โดยตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้น บริษัทก่อสร้างที่ให้ทางมูลนิธิสร้างสรรค์เด็กไปดาเนินจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จะเป็นผู้จ่ายค่าใช้จ่าย ตั้งแต่ ค่าอาหารกลางวันเด็ก ค่ากิจกรรม ค่าอุปกรณ์การเรียนการสอน ค่ารักษาพยาบาล และเงินเดือนครู จํานวนไม่น้อยกว่า 45 ศูนย์เด็กก่อสร้าง ซึ่งได้แก่ บริษัทแลนด์แอนด์บริษัทนีมาคอนสตั่นชันจากัด บริษัทศรีวราไฮเทค มหาชน จากัด บริษัทธนายง มหาชน จํากัดบริษัทนารายณ์ พร๊อพเพอร์ตี๋ จากัด เป็นต้น

จากตัวอย่างการทํางานของมูลนิธิสร้างสรรค์เด็กอย่างต่อเนื่อง ทาให้มูลนิธิฯได้รับ ประกาศเกียรติคุณให้เป็นองค์กรผู้ทาคุณประโยชน์ดีเด่นแก่ผู้อยู่ในภาวะยากลําบาก ประจําปี 2551 จาก สํานักงานส่งเสริมและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

เรียบเรียง โดย นางสาวทองพูล บัวศรี มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก