banner
พุธ ที่ 26 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2563 แก้ไข admin

กระบวนการช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนต่างด้าว

 


นางสาวทองพูล  บัวศรี

ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

 

ด้วยมีการถามไถ่ในการทำงานช่วยเหลือเด็กเร่ร่อน  ซึ่งในความหมายในการทำงานของครู มักจะมีคำถามจากหน่วยงานของราชการว่า  “ครูส่งเสริมการค้ามนุษย์หรือเปล่า”  ใช้กฎหมายอะไรทำงานกับคนกลุ่มนี้

สำหรับครูคือความไม่เข้าใจ ในการทำงานกับเด็กและเยาวชนที่อยู่ในประเทศไทย  ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก  ยังมีการแบ่งเด็กประเทศเขา เด็กประเทศเราอยู่  แต่สภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น  เด็กเหล่านี้อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร  จำนวนมากที่วิ่งกันเต็มไปหมด   จัดระเบียบขอทานเท่าไร  เด็กเหล่านี้ก็ยังมาอยู่บนท้องถนน

ครูได้ใช้กระบวนการ การทำงานของโครงการครูครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

เด็กเร่ร่อนต่างด้าว (ขอทาน)  โดยการเน้นให้เด็กได้รับโอกาสการพัฒนาที่ยังยืน ตาม SCG ของการตกลงกันระหว่างประเทศ

          และเป็นที่มาของการเขียนเอกสารเชิงวิชาการชิ้นนี้  เพื่อไปหารือร่วมกันในการทำงานของ “คณะทำงานขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานพัฒนาความร่วมมือการแก้ไขปัญหาขอทานเขตชายแดน ”  มีการประชุมหน่วยงาน 9 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  พร้อมทุกหน่วยงานมีการประชุมสรุปงานที่ทำงานช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนต่างด้าว   และหลายหน่วยงานมีการสอบถามถึงเอกสารชิ้นนี้เป็นจำนวนมาก เพื่อสรุปงานช่วยเหลือตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2555  จนถึงปัจจุบัน  ในบทบาทของครูข้างถนน

 

1.การทำงานการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตขอทานเด็ก (สถิติ,วิธีการการดำเนินการ) ในการทำงานได้ดำเนินการผ่าน โครงการครูข้างถนน

          1.1 โครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ได้มีการลงพื้นที่ ถนนสุขุมวิท ซอย 1 จนถึงสำโรงอิมพีเรียล โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น เด็กเร่ร่อนไทยถาวร,เด็กเร่ร่อนไทยชั่วคราว  และกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว

          โครงการได้ลงพื้นที่พบ กลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว ที่นำเด็กออกมาขอทาน ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2555  จนถึง พ.ศ. 2563  โดยลงพื้น สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง

          การลงพื้นที่ ในบางครั้งลงเวลา  05.00-08.00  น.

          การลงพื้นที่ ในบางครั้งลงเวลา  09.00-15.00  น.

          การลงพื้นที่ ในบางครั้งลงเวลา  19.00-23.00  น.

          หลักในการลงพื้นที่ เน้นการสำรวจว่ามีกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว คนใหม่เพิ่มขึ้นหรือไหมพร้อมกับต้องทำกับกรณีศึกษาที่ต้องต่อเนื่อง ในการรักษาพยาบาล/ในการติดตามเด็กที่ส่งรับการสงเคราะห์/ในการตามแม่เด็กที่ถูกจับ/ ในการเรียนของเด็กที่ออกกลางคัน  เป็นต้น

 

ตารางสถิติที่พบเด็กที่มาขอทานกับแม่บนท้องถนน

ปี พ.ศ.

จำนวนแม่(ครอบครัว)

จำนวนเด็กที่ติดตามแม่(คน)

หมายเหตุ

2555

107

263

เป็นช่วงที่แม่และเด็กอยู่บนท้องถนนจำนวนมาก

2556

88

186

 

2557

97

193

 

2558

101

209

 

2559

93

207

 

2560

75

246

 

2561

65

232

 

2562

62

212

 

2563

52

167

เฉพาะเดือน มกราคม-มิถุนายน  2563 และมีครอบครัวบางครอบครัวกลับประเทศกัมพูชา เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19

 

หมายเหตุ

-ครอบครัวกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว ที่พบบนท้องถนน  และ ในชุมชนต่างๆ เมื่อลงไปเยี่ยมที่ชุมชน เปรมฤทัย,ชุมชนสเตรท,ชุมชนบางนา,ชุมชนบ้านร้าง  (จังหวัดสมุทรปราการ)

-ชุมชนที่อยู่ในเขตกรุเทพมหานคร  ชุมชนบ่อนไก่,ชุมชนคลองเตย 70 ไร่,ชุมชนคลองตัน(โรงปูน),ใต้สะพานสุขุมวิท (สุขุมวิท)

         

วิธีการดำเนินการ

            1.ด้วยการลงพื้นที่ของโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก โดยเน้นการสร้างความไว้วางใจ ,การสงเคราะห์กรณีศึกษาที่ช่วยเหลือได้ นม ขนม ยารักษาโรค,เน้นการพูดคุย เรื่องการทำใบเกิดให้กับเด็กที่เกิดในประเทศไทย, คุยกับผู้ปกครองเรื่องการศึกษาของลูก ให้ความสำคัญเป็นหลัก ตลอดจนนำเด็กเข้าระบบการศึกษาในโรงเรียน 

 

ตารางการเข้าเรียนของเด็กเร่ร่อนต่างด้าว เข้าเรียน

ปี พ.ศ.

จำนวนเข้าเรียน

ออกกลางคัน

หมายเหตุ

2555

12 คน

3 คน

เด็กมีอายุ 12 ปี เรียน ป.3  เด็กอายน้องๆ ประกอบกับครอบครัวเอาเด็กไปทำงานก่อสร้าง

2556

11 คน

3 คน

เด็กมีอายุ 11 ปี เรียน ป.2  เด็กอายน้องๆ ประกอบกับครอบครัวย้ายกลับประเทศ

2557

9 คน

3 คน

มีครอบครัวของเด็ก 3 คน พี่น้องย้ายกลับประเทศกัมพูชา  และกลับไปทำงานที่ประเทศกัมพูชา และเด็กอายุมากกว่า 12 ปี  เรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  กลายเป็นเด็กโตของห้องเรียน

2558

21 คน

5 คน

มีเด็กที่เรียน ป. 4 อายุ 16 ปี เป็นเด็กผู้ชายครอบครัวเอาไปทำงานก่อสร้าง  และจำเป็นต้องลาออกจากโรงเรียน

2559

39 คน

12 คน

มีครอบครัวนำเด็กออกไปขอทาน ทำให้เด็กไม่มีเวลาไปเรียนตามเกณฑ์การเข้าเรียน  จำเป็นต้องออกกลางคัน

2560

30

6 คน

มีครอบครัวนำเด็กออกไปขอทาน ทำให้เด็กไม่มีเวลาไปเรียนตามเกณฑ์การเข้าเรียน  มีบางครอบครัวทั้งแม่และเด็กต้อง รอการตรวจ DNA ที่สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งนนท์บุรี ใช้ระยะเวลายาวนานกว่า 6-8 เดือน  จำเป็นต้องออกกลางคัน

2561

32

6 คน

มีครอบครัวนำเด็กออกไปขอทาน ทำให้เด็กไม่มีเวลาไปเรียนตามเกณฑ์การเข้าเรียน  จำเป็นต้องออกกลางคัน บางครอบครัวที่กลับประเทศต้นทาง เพราะแม่ของเด็กถูกจับ

2562

48

11 คน

มีครอบครัวนำเด็กออกไปขอทาน ทำให้เด็กไม่มีเวลาไปเรียนตามเกณฑ์การเข้าเรียน  จำเป็นต้องออกกลางคัน  ส่งกลับประเทศ ทำให้หยุดเรียนอย่างยาวนานจำเป็นต้องออกกลางคัน

2563

33

 

 

16 คน

-มี จำนวน 2 คน  ที่จ่ายค่าใช้จ่ายให้กับโรงเรียนแล้ว แต่ต้องลาออกเพราะขาดต่อเนื่องมา 1 เดือน

-มีเด็กอีก 1 คน ที่เข้าเรียนชั้นอนุบาล

มีครอบครัวนำเด็กออกไปขอทาน ทำให้เด็กไม่มีเวลาไปเรียนตามเกณฑ์การเข้าเรียน  ด้วยยังมีเด็กบางกลุ่มที่ยังออกไปขอทาน ทางโรงเรียนให้ไปลาออกจำเป็นต้องออกกลางคัน  มีบางครอบครัวที่กลับประเทศ


หมายเหตุ

          กลุ่มเด็กเร่ร่อนต่างด้าว(ขอทาน) เป็นช่วงที่ การทำงานกับครอบครัวเด็ก โดยนำเด็กเหล่านี้เข้าเรียน

          -ศูนย์เด็กเล็ก เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับเด็กเร่ร่อนต่างด้าว ที่ศูนย์เด็กเล็กบ่อนไก่/ศูนย์เตรียมความพร้อมเทพประสิทธิ์  เป็นต้น


-ในระดับชั้นอนุบาล จนถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เช่น โรงเรียนวัดมหาวงศ์,โรงเรียนวัดด่านสำโรง,โรงเรียนวัดพิชัย,โรงเรียนคลองสุเหร่า,โรงเรียนวัดหลักสี่,โรงเรียนทุ่งสองห้อง,  เป็นต้น

          สำหรับที่เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย  เช่น โรงเรียนเตรียมอุดมสมุทรปราการ,โรงเรียนวัดคลองกระทุ่ม, โรงเรียนทุ่งสองห้องวิทยา 1,โรงเรียนมัธยมวัดด่าน

          2. การติดตามหาเด็กเร่ร่อนต่างด้าว ที่ใช้ชีวิตบนท้องถนน ตามลำพัง เมื่อถูกจับ แม่เด็กบางคนตามหาลูกไม่เจอ  ตั้งแต่ 2555 จนถึงปัจจุบัน ที่ติดตามหาเด็กและพาแม่เด็กไปเยี่ยม จำนวน 27 คน เป็นเด็กช่วงอายุ 11-18 ปี  โดยจะประสานงานกับหน่วยงานภาค รัฐ ได้แก่  บ้านพักเด็กและครอบครัวกรุงเทพมหานคร, บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนนท์บุรี,บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดสมุทรปราการ,สถานแรกรับเด็กชายบ้านภูมิเวท,สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งนนท์บุรี,สถานคุ้มครองและการฝึกอาชีพบ้านเกร็ดตระการ  เป็นต้น

          -เด็กโดยส่วนใหญ่เด็กและเยาวชนจะออกมาบนถนน เมื่อถูกจับหน่วยงานไม่ได้มีการติดต่อไปหาครอบครัวของเด็ก แม่เด็กจะร้องขอให้ทาง โครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก  ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆที่ส่งเด็ก  เมื่อได้รับรู้ข้อมูลว่าเด็กและเยาวชนถูกส่งไปยังหน่วยงานไหนแล้ว  ทางโครงการครูข้างถนน จะขอทราบคดีที่เด็กถูกจับ  แล้วพาครอบครัวไปพบเด็ก  มีการดำเนินการด้วยกันในการหาทางออก  เมื่อครอบครัวไหนมีเอกสารพร้อมและมีแผนการดำเนินการช่วยเหลือก็จะมอบเด็กให้กับครอบครัวไปดำเนินการ  บางครอบครัวเด็กได้กลับเรียน

          -มีบางครอบครัวที่ทางโครงการครูข้างถนน  ต้องเซ็นรับรอง ในการรับเด็กและเยาวชน ที่แม่ของเด็กออกจากเรือนจำ และมารับเด็กที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ต่างๆของรัฐ จำนวนกว่า 30 คน  ด้วยข้อหาของแม่คือ นำลูกมาแสวงหาประโยชน์และกระทำการ  “ค้ามนุษย์” เมื่อถึงกระบวนการส่งสำนวนไปยังอัยการ  ทางอัยการสั่งไม่ฟ้อง  เมื่อแม่พ้นจากเรือนจำ  ต้องตามหาลูกว่าอยู่สถานสงเคราะห์ไหน  สิ่งที่ต้องนำเอกสารไปรับเด็ก ต้องมี

          (1) เอกสารที่ทางอัยการสั่งไม่ฟ้อง

          (2) ผลตรวจ DNA ของแม่กับเด็ก

          (3) ใบสูติบัตรของเด็ก

          (4)  บุคคลที่กำกับ/ดูแลตามแผนพัฒนาส่งเด็กคืนแม่ (พยาน) 

          แม่เด็กจึงร้องขอให้ทางโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ดำเนินการให้เด็กกับแม่คืนสู่ครอบครัว

          3.การติดต่อเยี่ยมเยียนแม่ของเด็กตามสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง(นนท์บุรี)  ด้วยแม่กับลูกคนเล็กถูกจับ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522/ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546/พระราชบัญญัติการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551(แก้ไข 2561)  และจะใช้เมื่อมีการจัดระเบียบ คือพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ.2559    จำนวนกว่า 10 ครอบครัว (พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน) ที่แม่ถูกจับ  จะมีเด็กที่เป็นลูกคนโต ที่ต้องอยู่ตามลำพังที่ห้องเช่า  บางครอบครัวอยู่กับเพื่อนบ้านในชุมชน  จนกว่าแม่จะออกมา

          ทางโครงการครูข้างถนน  จะได้รับเรื่องร้องขอให้ พาเด็กไปหาแม่ที่ถูกคุ้มครองในสถานที่ต่างๆ  เพื่อยืนยันความเป็นครอบครัว  ทางโครงการฯจะแบ่งปันอุปกรณ์ ปัจจัยการเลี้ยงชีพ ตลอดจน ข้าวสาร/อาหารแห้ง 

          มีบางกรณีที่ เด็กเรียนอยู่  จำนวน 2 ครอบครัว  ที่ได้ช่วยค่าเช่าบ้าน / ค่าใช้จ่ายเด็กไปเรียนหนังสือ  จนกว่าแม่จะออกมารับผิดชอบต่อ

 

2.การดำเนินการส่งกลับขอทานเด็กกัมพูชาและการติดตามประเมินผล

          2.1  มีการส่งกลับโดยผ่านความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และหน่วยงานระหว่างประเทศ  และเน้นกับการทำงานองค์กรพัฒนาเอกชนในท้องถิ่น โดยการเฝ้าระหว่าง ดูแลเป็นกรณีพิเศษ  เช่น  กรณีนางเกีย หอม  (เป็นตัวอย่างการคุ้มครองเป็นเวลา 24 เดือน และลูกของนางเกีย นอม กระจายตัวอยู่ในสถานสงเคราะห์ต่างๆของรัฐ   กว่าจะส่งกลับได้ต้องใช้ระยะเวลายาวนาน ต้องมีการติดตามกระบวนอย่างต่อเนื่อง)

          2.2  ส่งกลับโดยการผ่านการทำงานด้วยกัน ในฐานะบ้านพักเด็กและครอบครัวกรุงเทพ ส่งผ่านไปยัง สถานคุ้มครองและฝึกอาชีพบ้านเกร็ดตระการ  ส่งกลับประเทศในฐานะของเหยื่อจากการค้ามนุษย์  กระบวนการเหล่านี้  ทางหน่วยงานจะยุติบทบาท

  

 3.ข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหาขอทาน

          -การสกัดกั้นกลุ่มเสี่ยงไม่ให้เข้ามาทำการขอทาน

          1.ควรมีการทำงานแบบ MOU ในการป้องกันไม่ให้เด็กและครอบครัวเหล่านี้มาเคลื่อนย้ายมายังประเทศ  ทั้งเรื่องการเรียนของเด็ก และการฝึกอาชีพ

          2. การทำงานกับองค์กรพัฒนาเอกชนในท้องถิ่น  ตลอดจนโรงเรียนในประเทศต้นทาง  ให้เด็กเหล่านี้มีโรงเรียน เรียนเหมือนโรงเรียนประจำ 

          -การดำเนินการกับผู้ทำการขอทานที่ส่งกลับประเทศต้นทางและกลับเข้ามาทำการขอทานซ้ำ

          1.ประเทศต้นทางควรทำงานกับครอบครัวเหล่านี้  โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาของเด็ก  และกลุ่มเด็กโตที่เป็นกลุ่มเด็กหญิง เมื่อส่งกลับไปแล้ว ต้องมีการติดตามเพื่อการฝึกอาชีพ 

          2.การเอาความผิดกับครอบครัวเด็ก ควรต้องมีทบทวน ในกรณีที่ไม่ให้เด็กและเยาวชน เข้าถึงสิทธิในเรื่องการศึกษา/การรักษาพยาบาล  ปล่อยให้เด็กออกมาบนท้องถนนตามลำพัง

 

4.ประเด็นอื่นๆที่หน่วยงานเห็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาขอทานต่างด้าว

          4.1 ขอเปลี่ยนจากกระบวนการจัดระเบียบขอทาน โดยเน้นการทำงานกับครอบครัวเป็นรายครอบครัว และเข้าถึงการเยี่ยมบ้านของแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว  เน้นการให้คำปรึกษาตลอดจนการหาทางออกเรื่องอาชีพของแม่และเด็ก เป็นรายบุคคล

          4.2 ในกรณีที่เด็กเหล่านี้เข้าสู่ระบบการศึกษาแล้ว เมื่อแม่เด็กถูกจับไปควรที่จะมี “กองทุนฉุกเฉิน” ให้เด็กเหล่านี้ได้มีโอกาสเรียนต่อเนื่อง  ตามสิทธิขั้นพื้นฐานที่เด็กควรจะได้รับ

          4.3 ควรมีการทำความเข้าใจเมื่อกลุ่มแม่และเด็กถูกจับ  ควรใช้การลงโทษที่คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นประการสำคัญ ควรใช้พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559

         

                                 ................................................................