banner
พฤหัสบดี ที่ 18 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2559 แก้ไข admin

ครอบครัวเร่ร่อน...เร่ร่อนพร้อมครอบครัว


นางสาวทองพูล   บัวศรี

ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

 

        ในช่วงปีนี้ทางโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ได้รับเรื่องร้องเรื่องจำนวนมาก ทั้งกลุ่มเด็กเร่ร่อน เด็กขายพวงมาลัยตามสีแยกต่างๆ เด็กเร่ร่อนที่ฝังตัวอยู่ในร้านเกม ตลอดวันตลอดคืน ผู้สูงอายุที่มาขายสินค้าในกรุงเทพ คนพิการที่ถูกร้องว่าเป็นขอทาน แม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าวพาลูกออกมาขอทานแล้วถูกจับคดีค้ามนุษย์ คดียังไม่จบเป็นการละเมิดสิทธิอย่างมาก  อีกเรื่องหนึ่งคือครอบครัวมาลูกออกมาเร่ร่อน หรือเร่ร่อนพร้อมครอบครัว  ทำให้เด็กไม่ได้รับสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่เด็กควรได้รับ  แต่พ่อหรือแม่ว่าสิ่งเหล่านี้คือความรักของแม่ที่ให้ลูก  เป็นลูกต้องอยู่กับพ่อแม่และเลี้ยงดูด้วย  ความรักที่นำมาแสวงหาประโยชน์กับเด็ก

        ทางโครงการครูข้างถนน มีหลายกรณีที่เขาไปสร้างความไว้วางใจ  และเพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไข  ทั้งครอบครัวของเด็ก  คนที่ปฏิเสธคือพ่อหรือแม่ของเด็กมากกว่า  ดังตัวอย่างที่ทางโครงการได้ดำเนินการหาแนวทางช่วยเหลือ


   

        กรณีศึกษาที่ 1  พ่อลูกสามคน

        (1) ครอบครัว สามพ่อลูก ที่บางนา ได้รับแจ้งมาพลเมือง ที่ขับรถ ระหว่างขับรถ กรุงเทพ-พัทยา  ว่ามีครอบครัวเร่ร่อน มากกว่า เดือนแล้ว เดิมเด็กจะวิ่งขอเงิน  ช่วงระยะหลังพ่อได้ไปซื้อกังหันมาให้เด็กและพ่อและเด็กช่วยกันขายพ่อ ชื่อ นายชนะชัย  (นามสมมุติ) มีลูก 2 คน  (1) เด็กชายสมชาย  (นามสมมุติ) อายุ ประมาณ 9 ปี เรียนที่โรงเรียนโพธิ์นิมิต  เด็กไม่ได้เรียนตั้งแต่ปีที่แล้ว  (รูปร่างหน้าตาของเด็กออกไปชาวบังคลาเทศ ) (2)  เด็กชายรัตน์  (นามสมมุติ)    อายุประมาณ  5 ปี เด็กควรที่จะได้เข้าเรียนหนังสือได้แล้ว  แต่พ่อของเด็กก็พากับย้ายตลอด

        (2)สภาพปัญหาของครอบครัวนี้ครอบครัวนี้จะมีพ่อกับลูก มีมอเตอร์ไซด์หนึ่งคัน ที่บรรทุกทุกอย่างที่นอน พร้อมอุปกรณ์ ตระเวนไปเรื่อยๆ  แม่ของเด็กถูกรถบรรทุกชนเสียชีวิตมาประมาณปีกว่า  ตั้งแต่แม่ของเด็กเสีย พ่อก็มาลูกตระเวน    เด็กทั้งสองคน เข้าเกณฑ์ในการศึกษา แต่ในขณะนี้เด็กขาดเรียนมาตลอด  พร้อมกับการเลี้ยงดูไม่เหมาะสม บางวันได้กินบ้างไม่ได้กิน  ข้อมูลมาจากร้านค้าที่ขายช่วงเย็น

        (3) สภาพของบิดาเด็ก ในขณะที่พูดคุยกับเจ้าหน้าที่โครงการครูข้างถนน  พ่อจะมีอาการซึมเศร้า เมื่อต้องพูดคุยถึงภรรยา แม่ของเด็กทั้งสอง  หรือการพูดถึงอนาคตของลูกก็เช่นกัน

        (4)สถานที่อยู่อาศัยของพ่อและเด็ก จะอยู่บนถนน บางนา-ตราด (กม.16 ) หรือส่วนมากเรียกกันว่า บางโฉลง อยู่เลยปั้มน้ำมันบางจาก ซึ่งติดกันจะมีร้านสะดวกซื้อ  ในช่วงเวลา ประมาณบ่ายสามเป็นต้นไปจะมีร้านค้าขายอาหารตามสั่งหน้าร้านสะดวกซื้อ  เลยจะเป็นซอยมีบ้านเช่า  หน้าปากซอยจะมีตู้โทรศัพท์   ปัจจุบันนี้เป็นที่เก็บที่นอนของสามพ่อลูก ทั้งครอบครัวก็จะอาศัยนอนหน้าปากซอยมีระเบียงร้านขายของอยู่

   

 

ทางโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

        1.ได้ลงไปติดตามกรณีศึกษานี้ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม  2559  เวลา 16.00 น. คุยกับพ่อเด็กเรื่องการศึกษาของลูก พร้อมกับ ให้ส่งเด็กหรือไปดูบ้านสร้างสรรค์เด็ก ของมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก อยู่ที่คลองสาม  เป็นบ้านเด็กชาย  พร้อมมอบขนมกับนม และทิ้งเบอร์โทรศัพท์ ไว้ให้  จากการสังเกตสิ่งที่เห็นคือพ่อเด็กจะนั่งอยู่อีกมุมหนึ่งซึ่งมองเห็นเด็กทั้งสองคนที่วิ่งตามรถที่ออกจากปั้มน้ำมัน  ตอนที่พบเด็ก เด็กจะเอากังหันมาขายอันละ 20 บาท  ขายได้บ้างไม่ได้บ้าง ซึ่งอันตรายสำหรับเด็ก เมื่อพูดคุยการขายของจะได้ไม่แน่นอนแต่เงินที่คนทั่วไปให้จะพอซื้ออาหารให้ลูกกินทั้งสามมื้อแตกต่างกันไป  แล้วแต่เงินที่จะหาได้ และจะมีร้านค้าที่ขายอาหารโต้รุ่งให้เด็กกินบ้างเมื่อเวลามาช่วยล้างจาน/ชาม หรือเก็บโต๊ะเก้าอี้ ทั้งสามคนก็จะนอนด้านหน้าของร้านขายวัสดุ เพราะมีกันสาดกั้นฝน ครอบครัวจะมีมุ้งที่นอนพร้อม

        2.ได้ทิ้งเวลา หนึ่งสัปดาห์ เพื่อให้ผู้ปกครองที่รับปากว่าจะกลับไปประสานงานโรงเรียนที่ลูกคนโตเรียนอยู่ ลงเยี่ยมกรณีศึกษาอีกครั้ง เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน  2559 เวลา 15.00-17.30 น.  พูดคุยพร้อมซื้ออาหารกลางวันให้เด็กและพ่อด้วย  แล้วนั่งสังเกตการณ์พฤติกรรมของครอบครัว  ครั้งนี้พ่อมีอาการซึม บอกว่าเพราะไปรับอาหารแห้งมาจากบางแสน  วิ่งมอเตอร์ไซด์ไปกันทั้งสามคน เอาอาหารแห้งมาขายด้วยเพื่อเป็นค่าน้ำมัน  ขายดีครับแค่สองวันเองขายหมดเกลี้ยงเลยคะ  แต่วันนี้ทั้งสามคนยังไม่ได้กินทั้งอาหารเช้าและอาหารกลางวันเลย เห็นจากอาการของเด็กซึ่งหิวมากกินนมที่เดี๋ยวสองกล่องติดต่อกันเลย จึงพากันไปซื้ออาหารกล่องจากร้านสะดวกซื้อ ให้คนละสองกล่อง  แล้วนั่งอยู่ห่าง ห่าง  เห็นได้ชัดว่าเพิ่งได้กินอาหารในวันนี้

        3. เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2559 ได้ประสานงานกับบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งในขณะนั้นจะใช้ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 26 (5) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอม หรือกระทำด้วยประการให้เด็กไปเป็นขอทานเด็กเร่ร่อน หรือใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการขอทานหรือการกระทำผิด หรือกระทำด้วยประการใดอันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก และมาตรา 26 (6) ใช้ จ้าง หรือวานเด็กให้ทำงานหรือกระทำการอันอาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต หรือขัดขวางต่อพัฒนาการของเด็ก  ทั้งเจ้าหน้าที่ครูข้างถนนและเจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กและครอบครัว ควรที่จะได้ลองใช้แนวปฏิบัติพระราชบัญญัติคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ.2557  ซึ่งไม่มีต้องมีการแยกครอบครัวของเด็ก  ซึ่งพ่อเด็กอาจได้รับทุนประกอบอาชีพสนับสนุน หรือเงินสงเคราะห์ครอบครัวเพื่อไปเช่าบ้านแล้วหาที่อยู่ให้เป็นหลักแหล่ง  แล้วสามารถดูแลลูกได้ด้วย  จึงได้มีการประสานงานกับ ผู้อำนวยการสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งสมุทรปราการ  ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ลงไปดำเนินการ  ปรากฏว่าครอบครัวของพ่อได้พาลูกหนี 


  

        4. เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2559  ได้ลงไปติดตามครอบครัวนี้ ชาวบ้านและร้านค้าบอกว่าพ่อของเด็กยังวนเวียนมากดู แต่ไม่เห็นเด็กมาด้วย  เพราะข้าวของเครื่องใช้ ยังอยู่ในตู้โทรศัพท์อยู่

        5.เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2559  ได้ลงพื้นที่อีกครั้งพร้อมแลกเปลี่ยนการประชาชนบริเวณหน้าร้านสะดวกซื้อพร้อมกับร้านขายของที่เป็นชาวพม่า(ลูกจ้าง) ทุกคนเห็นพร้องด้วยกันว่า เด็กสองคนต้องได้รับการดูแล โดยเฉพาะเด็กอยู่ในวัยเรียน จะให้พ่อตระเวนพาลูกไปที่ต่างๆมันไม่ใช่ผลดีกับเด็ก เด็กต้องได้เรียนหนังสือ  และมีที่อยู่ที่ถาวร  พวกผมทั้งหลายจะช่วยส่งข่าวให้ครูเมื่อพ่อพาลูกกลับมาครับ  (การทำงานกับครอบครัวเหล่านี้ อาสาสมัครที่เป็นหูเป็นตาสำคัญมาก)  เพราะอาสาสมัครจะอยู่ในพื้นที่ตลอดเวลา โอกาสที่จะพบ มีอยู่ตลอดเวลา

        6.เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2559  อาสาสมัครได้ส่งข่าวว่าพ่อมาเก็บของ แต่ไม่เห็นลูกมาด้วย  พ่อเด็กบอกว่าเอาลูกเข้าเรียนที่ศรีราชาแล้ว  แต่ยังไม่ได้ย้ายโรงเรียน ครูเลยเอาตัวเล็กเอาเรียนด้วย  ผมไปทำงานรับจ้างทั่วไป  แต่ยังไม่รู้ว่าครอบครัวผมจะไปรอดได้แค่ไหน  อย่างไรก็ลองดูก่อนไม่อย่างนั้น ครอบครัวผมอาจจะกลับมาที่นี้อีกครั้งเพราะต้องนี้มีที่หลบแดดแดดฝนและหากินสะดวก ครูจิ๋วลงพื้นที่แต่ไปไม่ทันพ่อของเด็กที่มาเก็บของบางส่วน แต่ข้าวของส่วนใหญ่ก็ยังอยู่ในตู้โทรศัพท์  ส่วนมากก็จะเสื้อผ้าและเครื่องนอนทั้งครอบครัว

   

กรณีที่ 2 แม่พาลูกมาเก็บขยะในช่วงกลางคืน

ทางโครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ได้รับเรื่องร้องเรียน  เมื่อ วันที่ 8 มิถุนายน 2559ว่ามีครอบครัวแม่พาเด็กออกมาเก็บขยะในช่วงกลางคืน โดยมีลูกทั้งหมด 4 คนด้วยกัน ผู้แจ้งบอกว่าเฝ้าสังเกตมาแล้วหลายครั้ง  เห็นแม่ชอบใช้ความรุนแรงกับลูกทั้งสามคนที่เป็นผู้หญิง ถ้าไม่ได้ช่วยเก็บขยะ  หรือเด็กเล่นบ้างเป็นครั้งคราว หิวหรือร้องไห้ ก็จะมีการตี หรือบางครั้งก็ใช้ ถ้อยคำที่รุนแรง  ซึ่งจะมาเก็บขยะที่หน้าห้างบิ๊กซีสะพานควาย ผู้แจ้งคิดว่าเป็นครอบครัวเร่ร่อนน่าจะเป็นคนต่างชาติ จะมาในช่วง สามหรือสี่ทุ่มทุกวันทางโครงการครูข้างถนน ได้ลงไปดำเนินการ

(1)        ทางโครงการครูข้างถนน  ได้ลงไปพบ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน  2559 ในช่วงเวลา ตั้งแต่ สองทุ่มจนถึงสี่ทุ่ม ซึ่งในขณะนั้นได้มีการสอบถามยาม ร้านค้าที่ห้างบิ๊กซีสะพานควาย บอกว่ามีอยู่สองครอบครัว คือเป็นผู้ชายที่พาเมียมาเก็บขยะจะใช้รถสามล้อที่ขับมา  ครอบครัวนี้จะเหลือแต่เหล็กหรือกระป๋องเป็นส่วนใหญ่  ส่วนครอบครัวที่ได้รับร้องร้อนจะมาดึกกว่านั้นจะเก็บทุกอย่างเช่นกระดาษ เศษอาหาร  หรือขวดพลาสติก จะใช้วิธีการเดินมากกว่าใช้รถซาเล้ง

             -ครอบครัวนี้เป็นคนจังหวัดสุรินทร์ มีพ่อทำงานก่อสร้าง แม่มีปัญหาเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิต มีลูกทั้งหมด 4 คน  โดยมีลูกสาวคนโต อายุ 12 ปี เคยเรียนหนังสือแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  แล้วไม่ได้กลับไปเรียนหนังสืออีกเลย (แม่เด็กยืนยันว่าต้องการให้ลูกเรียนต่อ กศน.แต่กว่าสองปีแล้วที่ยังเคลื่อนย้าย หอบหิ้วกันไปเรื่อย เรื่อย)  ส่วนลูกคนที่สองเป็น ผู้ชายอายุ 9 ปี ยังไม่ได้เรียนหนังสือเลย ลูกคนนี้พ่อจะหวงมากไม่ยอมให้ออกมากับแม่  เด็กจะอยู่แต่ในบ้านพักของกรรมกรก่อสร้าง  ฉันอยากให้ลูกได้เรียนหนังสือแต่พ่อของเด็กไม่ยอม  ส่วนลูกคนที่สามจะออกมากลับแม่ และลูกคนนี้จะดื้อเพราะเด็กน้อยติดเล่นตลอดเวลา อยากวิ่งเล่นในห้างแต่จะอยู่ว่าไม่มีเงินที่จะซื้อข้าวหรือขนมก็ตาม แต่อยากอยู่ในห้างเพราะแอร์มันเย็น  จึงโดนแม่ตีตลอด   หรือบางครั้งก็นอนในขณะที่พี่คนโตเก็บขยะ   คนทั่วไปจึงเห็นว่าเด็กคนที่สามนี้โดนตีตลอด  ลูกคนที่สี่เพิ่งจะประมาณสามปี เป็นน้องเเล็กที่พ่อรักมาก แต่ก็ยอมให้ออกมากับแม่พร้อมพี่น้องอีกสองคนในช่วงกลางวันและกลางคืน

  

          -วิถีของครอบครัวนางเหรียญ(นามสมมุติ)  จะออกกันตั้งแต่เช้าจะเดินไปพร้อมกันทั้งสี่คน แม่ลูก  โดยจะเดินออกไปเก็บเศษขยะ เศษกระดาษ เศษพลาสติก ซึ่งจะมีรถสามล้อขนาดเล็กที่ส่วนมากเอาไว้เข็นผักในตลาดแปรมาเป็นรถเก็บขยะของครอบครัวนี้  กว่าจะกลับมาถึงที่พักก็เที่ยงพอดี หรือบางส่วนก็บ่ายโมงกว่า จะกินข้าวต้มกันเป็นส่วนใหญ่ หรือบางครั้งก็ใช้มาม่าต้มใส่ผักที่เก็บมาเช่นยอดตำลึง ผักขม ผักปอนด์ หรือผักบุ้งแล้วแต่จะได้มา  เพราะรายได้ที่เข้ามาในครอบครัวคือของพ่อคนเดียววันละประมาณ 250-300 บาทต่อวัน ต่อการมีงานทำ  ส่วนรายได้ที่ได้จาก การเก็บขยะขายเป็นค่าอาหารของคนในครอบครัวบางวันก็พอบางวันก็ไม่พอ หลังจากนั้นประมาณหกโมงเย็นจะพาลูกสาวสามคนเดินตั้งพหลโยธิน 18 จนถึงสนามเป้า แล้วเดินย้อนกลับมาถึงห้างบิ๊กซีสะพานควายก็ประมาณสี่ ถึงห้าทุ่ม  แล้วแต่ของที่จะเก็บจะมีมากหรือน้อย ถ้าได้มากก็จะใส่ถุงให้น้องช่วยแบก  หรือบางครั้งก็จะมีคนให้ข้าวสารบ้าง อาหารบ้าง ผัก ผลไม้ ตลอดจนเสื้อผ้าที่ลูก ลูก ใส่ ก็จะเอาใส่ถุงดำไว้ให้หรือบางครั้งก็ใส่รถเข็นไว้ว่าเป็นเสื้อผ้าที่จะให้เด็ก

          -ได้มีโอกาสคุยกับอาสาสมัครที่เป็นพ่อค้าผลไม้อยู่ฝั่งตรงข้ามกับบิ๊กซี  ซึ่งเป็นคนเตรียมผลไม้ที่ขายไม่หมดใส่ถุงเอาไว้ให้เด็ก ส่วนมากจะเป็นมะม่วง แตงโม สับปะรด องุ่นเป็นส่วนที่จะซื้อเผื่อมาให้เด็กคนเล็กแทนการกินนมกระป๋อง  พ่อค้าบอกว่าเป็นครอบครัวที่อาศัยอยู่ที่บ้านพักกรรมกรก่อสร้าง สามีเป็นยาม  ส่วนแม่กับลูกสาวก็ตระเวนหาของเก่า ผมลงไปดูที่บ้านพักแล้ว สอง-สาม ครั้ง ส่วนมากไม่เคยพบเลย เพราะแม่จะออกหาเศษขยะกันทั้งวัน  ได้แต่ฝากของไว้ให้ เพราะผมก็อยากรู้ความจริงเหมือนกัน และมีคำถามว่าทำไมไม่ให้ลูกเรียนหนังสือ  พอเห็นครอบครัวก็เข้าใจมากขึ้น  ฝ่ายเป็นพ่อดูเงียบมาก ส่วนมากแม่ก็จะพูดคำตอบคำเหมือนกัน  ลูกคนกลางที่เป็นผู้หญิงพูดมากสุด  คนพี่สุดที่อายุ 12 ปีไม่พูดถามก็เงียบ น้องตอบแทน  น่าสงสารอยากให้ได้ไปโรงเรียน พี่คนโตเป็นคนทำงานทั้งหมดในบ้าน ดูแลน้อง น้อง   แต่ลูกชายคนที่สองไม่ค่อยฟังใครชอบดื้อ ออกไปเดินเที่ยวกลางคืน  บางครั้งก็ไม่กลับบ้าน เพราะเคยเจอที่ตลาดสุทธิสารให้นั่งรถกลับมาด้วย เด็กบอกว่ากลับไม่ถูก 

  

          -โครงการครูข้างถนน  ได้ลงไปพื้นที่สะพานควายอีก 5 ครั้ง แต่ไม่พบครอบครัวนี้ จึงได้ตามไปที่ไซด์งานก่อสร้างพหลโยธิน 18  งานเกือบเสร็จแล้ว  คนงานก็ย้ายไปที่ใหม่อยู่ตลาดบางแค  ครอบครัวนี้ย้ายไปก่อนแล้วเพราะพ่อของเด็กต้องไปเฝ้าของ  ทางโครงการครูข้างถนนจึงต้องวางแผนเพื่อจะตามเด็กอีกครั้ง

 

กรณีที่ 3  ครอบครัวนางเฉย (นามสมมุติ)

ทางโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก  ได้รับการประสานงานว่ามีเด็กชาย 2 คนที่ ทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองสวนพลู  และองค์กรด้านผู้หญิงที่เข้าไปทำงานในสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ว่ามีสถานีตำรวจ แห่งหนึ่งประสานงานส่งต่อไปยังสถานสงเคราะห์เด็ก ซึ่งได้จับครอบครัวหนึ่งมีลูกสองคน และกำลังคลอดลูกอีกหนึ่งคน ต้องการให้ทางมูลนิธิสร้างสรรค์เด็กรับตัวเด็กออกมาดูแล เพื่อต้องการให้เด็กได้เรียนหนังสือ  แม่คลอดลูกได้ 1 วัน ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ส่งเด็กอ่อนเข้าสถานสงเคราะห์ ส่งแม่ไปยังสำนักตรวจคนเข้าเมืองสวนพลู  แม่บอกว่าแยกกับลูกที่เพิ่งคลอดมากว่า ยี่สิบวันแล้ว  สงสารลูกและลูกเองก็ไม่ได้กินนมแม่เลย เห็นหน้ายังไม่ได้เต็มตาเลย วันที่เขาแยกแม่แยกลูก

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2558 ได้รับการประสานงานที่จะไปเด็กชายสองคน เป็นเด็กชาวเวียดนาม แม่เป็นเวียดนามมาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่อายุ 5 ปี  ปัจจุบันนี้แต่อายุ 27 ปี มีลูกทั้งหมด 5 คน ไม่มีเอกสารใดๆใดเลย  ถูกจับปีหนึ่งประมาณ 4-5 ครั้ง  แต่ครั้งก็อยู่ใน สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองสวนพลู  ครั้ง เดือนถึงสองเดือน  เด็กคนโตอายุ 9 ปี ไม่เคยได้เรียนหนังสือเลย อยากให้องค์กรช่วยรับไปดูแลให้หน่อย   เด็กมาอยู่ที่มูลนิธิฯได้สองวัน  ได้มีการประสานส่งกลับพร้อมลูกคนเล็ก


ในวันที่ 29 ธันวาคม 2559  ได้ลงไปเยี่ยมครอบครัวของนางเม้ง(นามสมมุติ)  แม่กับเด็กยังไม่ได้กลับ จึงได้พบยาย และพ่อของเด็ก  ซึ่งอายุอยู่ที่ตึกร้างบริเวณคลองตัน สภาพที่พักไม่เหมาะสมเป็นที่อยู่อาศัย แต่ครอบครัวนี้ก็อยู่มากกว่า 10ปีแล้ว เสียค่าน้ำค่าไฟ ที่ต่อกันมาจากตึกด้านหน้า ยังมีเด็กที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพอีกสองคนบอกว่าเป็นหลานสาว ซึ่งยายเป็นคนดูแล   การใช้วิถีของครอบครัวพ่อของเด็กประเมินครั้งแรก มีปัญหาเรื่องไอคิวต่ำ แต่มีอาชีพขัดรองเท้าที่ซอยคาวบอย จะเริ่มงานตั้งแต่สี่ทุ่มกลับมาประมาณตีห้าทุกคืน ได้คืนละประมาณ 300-500 บาท เป็นบางคืน  ส่วนแม่กับลูกถ้าวันไหนพ่อหาไม่ได้ก็จะพากันออกไปขอทานบ้าง รับจ้างทำงานที่ตลาดพระโขนงในช่วงเช้ามืดบ้าง  ตึกร้างที่อยู่อาศัยอยู่นั้น จะมีป้าดูแลอยู่ ลีคนต่างด้าวที่เป็นชาวอินเดีย ปากีสถาน ชาวพม่า อยู่กันหลายครอบครัว อยู่กันมานานแล้ว กลุ่มนี้จะออกไปขายดอกไม้ในช่วงกลางคืน

ทางโครงการครูข้างถนน ได้ประสานงานกับสหทัยมูลนิธิ เพราะเป็นองค์กรที่อยู่ตรงข้ามกับตึกร้างนี้ แต่ทางนักสังคมสงเคราะห์ลงไปแล้วยังไม่ได้พบเคสที่เป็นแม่เด็ก เพราะหลังจากที่ถูกปล่อยตัวมา พ่อกับเด็กก็ถูกจับที่ตลาดพระโขนงอีก แล้วทั้งพ่อและเด็กถูกส่งเข้าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่สวนพลู  พร้อมกับครอบครัวของเด็กก็ย้ายหายไปจากตึกร้าง

ทางโครงการครูข้างถนน ได้ลงพื้นที่อีกสามหลัง ก็ไม่พบครอบครัวนี้ ไม่ทราบว่าย้ายไปไหน   ได้ลงพื้นที่ซอยคาวบอยสามครั้งในช่วงดึกก็ไม่พบพ่อของเด็ก  ได้มีการสอบถามคนดูแล ก็บอกว่าตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม 2559  ที่พ่อเด็กถูกจับแม่กับยายพาลูกสองคนพร้อมกับหลานสองคน หายไปจากตึกร้างนี้ แต่ข้าวของก็ยังอยู่

จากตัวอย่างทั้งสามครอบครัว ที่ทางโครงการครูข้างถนน ลงไปทำงานด้วย ยังไม่ได้รับความไว้ว่างใจ จึงพาลูกหนี  เป็นการทำงานที่ต้องติดตาม และการเก็บรายละเอียดให้มากที่สุด เพราะครอบครัวเหล่านี้ยังมีความหวาดระแวง  และเป็นความรักของพ่อแม่ที่ไม่ต้องการให้ใครมาพรากลูกของเขาไป  จึงต้องมีการทบทวนการทำงานตลอดจนท่าทีเวลาที่คุยกับเคส  แต่เป็นครอบครัวที่ต้องได้รับการปกป้องคุ้มครอง และให้ได้รับสวัสดิการ  ไม่อย่างนั้นเด็กทั้งหมดก็ไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษา  การรักษาพยาบาล  การมีเอกสารสถานะ  ตลอดจนการพัฒนาทักษะชีวิตด้านอื่นๆ

ในขณะนี้ทางโครงการครูข้างถนน  จะพบครอบครัวแบบนี้เป็นจำนวนมาก ที่ไม่ต้องการให้หน่วยงานไหนมายุ่งกับความเป็นครอบครัวของเขา  ทุกครั้งจะบอกว่าเขาเลี้ยงดูได้  ลูกของเขาเขาเลี้ยงได้   ซึ่งต้องให้เวลากับทั้งพ่อหรือแม่ หรือยาย  ซึ่งก็จะต้องทำความเข้าใจ   เป็นอีกกลุ่มเป้าหนึ่งในการทำงานต้องใส่ใจ และเฝ้าดูการเคลื่อนไหวต่อไป