banner
พุธ ที่ 3 เดือน เมษายน พ.ศ.2562 แก้ไข admin

เมื่อเด็กน้อย...คอยศูนย์เด็กก่อสร้าง




 นางสาวทองพูล  บัวศรี

ที่ปรึกษาศูนย์เด็กก่อสร้าง  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

 

          ศูนย์เด็กก่อสร้าง   มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก  ทางโครงการเปิดศูนย์เด็กก่อสร้างเต็มรูปแบบ แบบครูที่สอนนอนกินอยู่ในแหล่งก่อสร้าง  มีบ้านพักเหมือนคนงานก่อสร้าง เพียงแต่ห้องน้ำห้องส้วมใช้ที่โรงเรียน ไม่ได้ไปใช้กับคนงานเท่านั้น

          โครงการศูนย์เด็กก่อสร้าง ดำเนินกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่อง เป็นเพียงองค์กรเดียวที่ทำงานเชิงรุกไปอยู่ไปกินกับแหล่งก่อสร้าง  จนหลายบริษัทที่ทำงานกับทางมูลนิธิ ยอมรับและต้องการให้ทางโครงการฯเปิดศูนย์เด็กก่อสร้างเพิ่มเติม   แต่ด้วยปัจจัยหลายเรื่อง ที่ทางโครงการฯของดำเนินการเพียงแห่งเดียวเท่านั้น

          ในช่วงหลังปี 2549 เป็นต้นมา การเปิดโครงการศูนย์เด็กก่อสร้างอีกครั้ง  มีการย้ายงานกันอย่างรวดเร็ว   ส่วนมากทางโครงการศูนย์เด็กจะเปิดการเรียนการสอนกับเด็ก ในช่วง 8 เดือน จนถึง ปีครึ่งเท่านั้น  ทั้งบ้านพักคนงานก่อสร้างและศูนย์เด็กก็เช่นเดียวกัน

          การโยกย้ายโรงเรียน หรือการย้ายบ้านพักกรรมกรก่อสร้าง ย้ายได้รวดเร็วมากขึ้น  อย่างที่ศูนย์เด็กก่อเดอะพาร์คแลนด์  ที่ก่อสร้างคอมโดมิเนียมที่จรัสสนิทวงศ์  ทางโครงการก่อสร้างเสร็จโครงการเรียบร้อยแล้ว  และยังจ่ายงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินงานของโครงการศูนย์เด็กก่อสร้าง  โดยเป็นบริษัท นายารา จรัญ จำกัด


          เรื่องการย้ายศูนย์เด็กก่อสร้างมีมาตั้งแต่ปลายปี 2561 ซึ่งมีการเคลื่อนย้ายคนงานก่อสร้างออก  เด็กเองก็มีน้อย  ได้การย้ายคนงานก่อสร้างบางส่วนไปแล้ว  แต่วันนี้ยังย้ายศูนย์เด็กก่อสร้างใช้เวลากว่า 3 เดือน แล้ว แต่ก็ยังย้ายไม่ได้   เด็กกับแม่เด็กอ่อนจำนวนหนึ่งจึงเก็บตัวกันอยู่ในบ้านพักกรรมกรก่อสร้าง  

          เมื่อตู้ศูนย์เด็กก่อสร้างยังไม่ได้ไป  ครูไพโรจน์  จันทะวงศ์  จึงใช้ พื้นที่ที่ว่าง  เป็นสถานที่เล่น เสริมทักษะให้กลุ่มแม่และเด็กไปก่อน 

          เริ่มตั้งแต่เลือกพื้นที่ที่วางอยู่  ในขณะนั้นก็มีช่องว่างระหว่างตู้นอนที่ยังไม่ได้ทำอะไร   จึงใช้ผ้าใบสีฟ้า ปูเป็นที่นั่ง นำโต๊ะพับขนาดเล็กห้าตัวมาวางเรียงไว้  กลุ่มแม่และเด็กก็พาลูกๆ กันออกมา นั่งเล่นก่อน  ครูก็เริ่มไปรื้ออุปกรณ์ของเล่นมาวางกองไว้   เด็กน้อยกับแม่ๆก็ รื้อกันตามที่มีอยู่

          การเล่นปนการเรียนรู้ เน้นเรื่องการพูดคุย  ครั้งแรกดูเหมือนเด็กๆ สนุกมาก  เพราะอยู่แต่ในห้องพักกรรมกรก่อสร้างมานาน  มันเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่น อย่างที่เขาอยากเล่น

          เมื่อเล่นเสร็จแล้ว สิ่งที่ตามมาคือ การกินนมกับขนม   เมื่อครูหิ้วนมกับขนมเข้ามาเด็กก็มาทันที  บางคนก็คลานมาถึงตักที่ครูไพโรจน์  มาถึงก็เอามือแตะเอานมกับขนม  เด็กน้อยชี้ไปที่ปากของเด็กน้อยทันที

          เด็กน้อยยื่นมือน้อยๆไปรับนมกับขนม  ได้มาแล้วก็คลานอย่างรวดเร็วไปหาแม่ สะกิดมือแม่ให้เจาะนมหรือบางครั้งก็แกะขนมให้  เมื่อแม่แกะให้แล้ว เด็กน้อยก็หันหลังนั่งดื่ม ยืนดื่มแบบหายใจไม่ทัน  เป็นเวลาที่เด็กๆคอยมาตั้งแต่เช้า แล้ว

          เมื่ออิ่มแล้วก็ลุยของเล่นต่อ ถึงแม้ว่าครูจะให้เด็กต่อมาเขียนหนังสือแล้วก็ตาม   ของเล่นถึงแม้จะหัก จะพังแล้วก็ตาม  สำหรับเด็กลูกกรรมกรก่อสร้างมันคือสิ่งของที่เล่นได้

          เสียงของแม่เอ่ยกับครูว่า “ขอของเล่นเหล่านี้” ไว้ให้ลูกบ้าง  ขอเป็นตัวต่อก็ได้  เพราะเด็กน้อยอยากฝึกการต่อ   ตัวต่อไม่ครบ บางตัวก็หายไป   แม่เด็กบอกว่ามีบางตัวดีกว่าไม่มีเลยครู  แล้วก็เอาไว้แบ่งกันเล่นได้

          ของเล่นของครูช่วยเด็กๆได้    เพราะเวลาเด็กที่ได้ของเล่นก็จะสร้างจินตนาการของเด็กได้  ถึงแม้ว่า  ของเล่นเหล่านั้น หักบ้างพังบ้าง  แต่เด็กๆก็เรียกร้อง

          ของ ของครูมันเป็นของเล่นที่เด็กๆอยากรื้อจากลังที่ครูเก็บมากที่สุด   บางครั้งก็ช่วยลูกหนูเวลาที่ร้องไห้  ว่าถ้าไม่หยุดร้องไห้ จะไม่ให้เล่นของเล่น

          เป็นของเล่นที่วิเศษมาก   ทำให้เสียงร้องไห้หยุดได้ชั่วคราว