banner
อังคาร ที่ 10 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2558 แก้ไข admin

ต่อยอด..ขยายงานรถเคลื่อนที่สัญจรในแหล่งก่อสร้าง

ทองพูล  บัวศรี

ที่ปรึกษา โครงการศูนย์เด็กก่อสร้าง

   

          ด้วยโครงการศูนย์เด็กเล็กเคลื่อนที่ เป็นงานส่วนหนึ่งของมูลนิธิเด็ก แต่เมื่อทางครูหยุย(นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์) เป็นผู้ประสานงานโครงการศูนย์เด็กก่อสร้างแล้วนำโครงการนี้ มาตั้งเป็นมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ.2531 จนถึง ปี พ.ศ. 2540  เป็นช่วงที่งานโครงการศูนย์เด็กก่อสร้างได้ทำงานขยายงาน คือ

          1.ทางโครงการศูนย์เด็กก่อสร้างได้ขยายงานกับบริษัทก่อสร้างจำนวนกว่า 25 บริษัท กว่า 37 แหล่งก่อสร้าง โดยทางบริษัทก่อสร้างเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ได้ดูแลเด็กกว่า 1,700 คนที่ได้มีโอกาสเข้าเรียน ฝึกทักษะ การเสริมงานอาชีพ ตลอดจนทางโครงการได้เปิดศูนย์การเรียนนอกระบบสำหรับกลุ่มเด็กด้อยโอกาส  เด็กจบการศึกษานอกระบบในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา  กว่า 280 คน  การทำงานกับชุมชนที่เป็นพ่อแม่ของเด็ก ผู้รับเหมาก่อสร้าง  บริษัทรับเหมาก่อสร้าง เจ้าของโครงการก่อสร้างโดยตรง  จนถึงปี 2540 ที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ศูนย์เด็กก่อสร้างต้องหยุดงานชั่วคราวลง แต่ก็ยังเสริมด้วยงานโครงการครูสัญจร เดินไปตามชุมชนเถื่อนแถวรังสิต เน้นส่งเด็กเข้าเรียนหนังสือ ทำกว่าสามปี  เด็กได้เข้าโรงเรียน และได้ทำเอกสารให้เด็กริมครองรังสิต  ปัจจุบันคนบริเวณแถวนั้นย้ายไปคลอง 2  คลอง 15  เด็กหลายคนที่ออกจากโรงเรียนกลางคั่น  เป็นแรงงานช่วยพ่อแม่เป็นที่เรียบร้อย


  

          2. ขยายงานไปยังศูนย์เด็กด้อยโอกาส  ของสำนักงานพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร โดยเน้นการทำงานไปที่การเปิดศูนย์เด็กในแหล่งก่อสร้าง   เพียงแต่ครูไม่ได้นอนในศูนย์  เปิดจนถึง ปี พ.ศ.2539  แล้วก็ปิด  ด้วยหลายสาเหตุ ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ   บุคคลากรที่เป็นครูไปสอบบรรจุเป็นข้าราชการ  รวมถึงการเปลี่ยนนโยบายของผู้บริหารของกรุงเทพมหานคร  จนถึงบัดนี้ไม่มีศูนย์เด็กก่อสร้างที่เปิดโดยกรุงเทพมหานคร

          3. การเปิดศูนย์เด็กก่อสร้างอีกครั้งของมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ตั้งแต่เปิด พ.ศ2550  จนถึงปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องกลุ่มเป้าหมาย เดิมเป็นเด็กไทย ในปัจุบันนี้กลายเป็นเด็กนานาชาติ  ซึ่งมีปัญหามากมาย ตั้งแต่การปรับตัวของเด็ก เด็กบางคนพูดภาษาไทยไม่ได้ก็จะหมกตัวอยู่แต่ในห้อง พ่อแม่ไปทำงานก็จะเก็บตัว  บางคนไม่อาหารกินตอนกลางวันเลย  ความปลอดภัยในบ้านพักของกรรมกรก่อสร้างก็เป็นอันตราย  การไม่มีโอกาสได้ไปไหนเลยก็เป็นปัญหา    แต่สำหรับการเปิดศูนย์เด็กก่อสร้างอย่างเต็มรูปแบบจะมีปัญหาทั้งงบประมาณและบุคลากรที่จะดำเนินการเรียนการสอนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด


  

          ในขณะนี้มีหลายบริษัทที่อยากทำกิจกรรมเพื่อสังคม โดยให้ทางโครงการศูนย์เด็กก่อสร้างไปเปิดศูนย์เด็กอย่างเต็มรูปแบบ  ซึ่งจำกัดด้วยข้อจำกัดหลายประการ จึงมีรถเคลื่อนที่สัญจร  ไปตามแหล่งก่อสร้างต่างๆอีกจำนวน 10 แหล่งก่อสร้างด้วยกัน  โดยเน้นงานทำงานตามแหล่งก่อสร้างขนาดกลางและขนาดเล็ก  โดยเด็กแต่ละบ้านพักกรรมก่อสร้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป    ในขณะนี้ทางรถเคลื่อนที่สัญจร ได้ดำเนินการไปแล้ว หนึ่งแห่ง มีเด็กกว่า 40 คน  อยู่ที่ซอยบางซื่อ 52/1  (ซอยสามมัคคี)

          โดยรถเคลื่อนที่จะเน้นการทำงานเชิงรุก เน้นไปที่ : ให้เด็กลูกกรรมกรก่อสร้างเข้าถึงสทธิ  สิทธิพื้นฐานที่เด็กลูกกรรมกรก่อสร้างควรจะได้รับ

(1)   เรื่องการศึกษา(ทั้งในระบบโรงเรียนที่เด็กสามารถเข้าเรียนได้ การเรียนนอกระบบ หรือการพัฒนาทักษะชีวิตอย่างเช่น ศูนย์เด็กเล็กก่อสร้าง หรือรถเคลื่อนที่)

(2) การรักษาพยาบาลเพราะเด็กเหล่านี้มีสองกลุ่ม เด็กกลุ่มที่หนึ่งพ่อแม่ขึ้นทะเบียนแรงงานเด็กจึงมีการซื้อหลักประกันด้วย ราคา 365 บาท ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 7 ปี   กลุ่มที่เกิด 7 ปีขึ้นไปต้องซื้อหลักประกันเท่ากับผู้ใหญ่คือ 1,665 บาท ซึ่งพ่อแม่จะไม่ยอมซื้อให้ลูกก็จะผิดกฎหมายหรือเมื่อเจ็บป่วยขึ้นมาก็จะไม่ยอมไปรักษาโดยเด็ดขาดกลัวความผิด    สำหรับอีกกลุ่มหนึ่งชุดที่ลักลอบเข้าเมือง ลักลอบการทำงาน เด็กกลุ่มนี้จะไม่มีเรื่องการรักษาพยาบาล  ตลอดจนการจะถูกจับกุมจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ทำให้เด็กกลุ่มนี้มีการเคลื่อนย้ายหนีกันตลอด  พ่อแม่ถูกโกงค่าแรง เด็กไม่ได้ความปลอดภัยในการอยู่อาศัย   


(3) สิทธิการอยู่อาศัยอย่างปลอดภัยและมั่นคง ทุกอย่างขึ้นอยู่กับผู้รับเหมาเป็นส่วนใหญ่ สภาพบ้านพักของกรรมกรก่อสร้าง  เป็นบ้านพักที่ใช้สังกะสีเป็นทั้งหลังคา และฝาผนัง  ปูพื้นด้วยไม้อัด สภาพห้องน้ำไม่เพียงพอ เหมือนกับห้องส้วมของกรรมกรก่อสร้างเองก็ไม่เพียง 

(4) สำหรับกลุ่มที่ลูกเกิดในประเทศไทยโดยเฉพาะ-กลุ่มแม่และเด็กอ่อน  เด็กที่เกิดในประเทศไทยต้องได้รับสูจิบัตร  ได้รับการรักษาพยาบาลตามบัตรสุขภาพที่ซื้อตามพ่อแม่   ครูก็จะเริ่มถามว่าว่าเกิดที่โรงพยาบาลไหน  ได้ใบเกิดแล้วหรือยัง ได้สมุดสีชมภูไหม ไปฉีดวัคซีนที่ไหน  ครูก็จะคอยไปพร้อมกับสอนเด็กไป  เพื่อสร้างความไว้วางใจ และสอบถามการเข้าถึงสิทธิต่างๆไหม  กลุ่มแม่เด็กอ่อนจะเข้ามาหากลุ่มครูด้วยความอ่อนโยนมีปัญหาของลูกก็จะเริ่มเล่าให้ฟัง


  

                    สำหรับกลุ่มเป้าหมายของเด็ก   มีเด็กที่อยู่ในบ้านพักอายุ 0-13  ปี กว่า  40 คน  ส่วนมากเป็นเด็กนานาชาติ (ชาวกัมพูชาจำนวนกว่า ร้อยละ 90 )  เด็กส่วนใหญ่ไม่เคยเรียนหนังสือทั้งกัมพูชา และไทยมาเลย   เด็กมีความตั้งใจเรียนเป็นอย่างมาก  รถเคลื่อนที่จะเข้าไปพบเด็กๆอาทิตย์ละ หนึ่งถึงสองครั้ง  แต่ทางรถเคลื่อนที่ปรับรูปแบบการให้กระเป๋าใส่การบ้าน  ช่วงที่รถเคลื่อนที่ไม่ได้ไป  เมื่อครูเข้ามาเด็กจะเอาการบ้านเก่ามาส่ง แล้วรับการบ้านใหม่ไปต่อ  สลับกันอย่างนี้ 

          เด็กนานาชาติทุกคนจะรอคอยรถเคลื่อนที่คันนี้เป็นอย่างมาก  เพราะเด็กทุกคนจะได้ทำกิจกรรมเกมส์ เพลง มาร้องเล่นกันก่อนทำกิจกรรมอื่น กลุ่มแม่และเด็กอ่อนก็จะนำลูกของตัวเองมาล้อมวงกับกลุ่มเด็กด้วย  ได้ฝึกลูกของตัวเอง  เริ่มตั้งการเข้าฝึกเข้าแถว แถวตรง ซ้ายหัน ขวาหัน  การสอนเด็กให้เด็กสมาธิในมุมต่างๆที่มีที่กว้างพอให้เด็กนั้งได้ โดยครูจะปูแผ่นพลาสติคปูนั่ง  เป็นทั้งที่นั่งที่เรียนของเด็กไปพร้อมกัน 


  

           กลุ่ม เด็ก  สำหรับเด็กไทยได้เรียนหนังสือตามกฎหมายของประเทศไทย   สำหรับเด็กต่างด้าว(นานาชาติ) เด็กคนไหนพร้อมถึงได้เข้าเรียนในระบบโรงเรียน   เด็กที่มีการเคลื่อนย้ายสูง เน้นการสอนภาษาไทย อ่าน ออก ฟัง  เขียนได้ เน้นการเขียนชื่อตนเองเป็น  ครูมีความเชื่อในการเขียนชื่อเด็กเองได้เวลาจะรับเงิน การเซ็นต์ชื่อ เด็กจะได้ไม่ต้องแป๊ะโป๊ (การใช้นิ้วหัวแม่มือกดไปที่แท่นหมึกสีดำ หรือสีน้ำเงิน แล้วกดต้องช่องลงลายชื่อด้วยลายหมึก)  ซึ่งคนทุกคนอย่างน้อยควรที่จะต้องเขียนชื่อตัวเองได้  เวลาที่ไปโรงพยาบาลกับคนก่อสร้างต่างด้าวสิ่งเจ็บป่วยเวลาคุณหมอหรือนางพยาบาลให้เซ็นต์รับทราบ  ทุกคนจะบอกว่าเขียนทั้งภาษากัมพูชา และภาษาไทย  เขียนไม่ได้  มันโคตรเจ็บปวดสำหรับคนเป็นครูอย่างไร   บนประเทศไทยยังมีคนเขียนชื่อตัวเองอีก.....  เสริมทักษะชีวิตการอยู่กับสังคมไทย  เน้นการรู้จักประเพณี ขนมธรรมเนียม วิถีการปฏิบัติตน  การอยู่แบบสังคมเดียวกันในอาเซียน

         สำหรับกลุ่มเยาวชน  มีการจัดนิทรศการเรื่องยาเสพติด การวางแผนครอบครัว  สอนหนังสือภาษาไทยในช่วงกลางคืน การสอนโรคเอดส์  การใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังในประเทศไทย  ซึ่งกำลังประสานงานกับองค์เฟรนด์ ประเทศไทยที่จัดอาสาสมัครชาวกัมพูชามาจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 

         งานรถเคลื่อนที่สัญจรได้เริ่มทดลองการปฏิบัติงานมาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 เป็นต้น จะจะเริ่มใช้รถวิ่งตระล่อนไปยังแหล่งก่อสร้างต่างต่างอีก 10 แห่งแน่นอนในปีหน้า....เป็นอีกงานที่ขยายลงไปในพื้นที่แหล่งก่อสร้าง...