banner
พุธ ที่ 26 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2558 แก้ไข admin

ศูนย์เด็กก่อสร้างนานาชาติ ของเด็กลูกกรรมกรก่อสร้าง

           ด้วยโครงการศูนย์เด็กก่อสร้าง มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในบ้านพักของกรรมกรก่อสร้างอีกครั้งในช่วงปี 2550 เป็นต้นมา แต่เดิมเด็กที่เข้ามาใช้บริการร้อยละ 90 เปอร์เซนต์ เป็นเด็กไทย มีเด็กต่างด้าวเพียงเล็กน้อย  แต่สิ่งที่เห็นอย่างเด่นชัดในช่วง ปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นจนถึงปัจจุบันนี้  ที่ศูนย์เด็ก่อสร้างของมูลนิธิสร้างสรรค์เด็กกลายเป็นเด็กนานาชาติ ร้อยละ 95 เปอร์เซนต์  ที่มาเรียนมีตั้งแต่ชนกลุ่มน้อย  จีนฮ้อ ไทยใหญ่  จาม กัมพูชา พม่า ลาว ปากีสถาน โรฮิงยา เป็นต้น เด็กเหล่านี้จะหมุนเวียนปรับเปลี่ยนมาเรียนที่ศูนย์เด็กก่อสร้าง  ในช่วงที่พ่อแม่ของเด็กยังทำงานอยู่ในไซด์งานนี้

          การเปลี่ยนแปลงของกรรมกรก่อสร้าง ที่เข้ามาทำงาน เหตุผลคือ คนไทยกลายเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง หรือมีบางครอบครัวเท่านั้นที่ทำงานเป็นกรรมก่อสร้าง  ซึ่งแตกต่างจากเดิม โดยส่วนใหญ่เมื่อสอบถามคนไทยจะบอกว่าเป็นงานหนัก ค่าแรงได้ไม่เท่ากับการเดินทางไปทำงานก่อสร้างยังต่างประเทศ  มีคนงานก่อสร้างที่เป็นชาวไทยไปทำงานต่างประเทศ เช่น ที่สิงค์โปร์  เกาหลีใต้ ไต้หวัน  เป็นต้น  งานก่อสร้างตึก ถนน  ส่วนมากแรงงานเป็นคนไทยทั้งสิ้น

  

          จากเหตุนี้เองงานก่อสร้างในประเทศไทย ซึ่งค่าแรงอย่างน้อยวันละ 300 บาท ตามกฎหมายแรงงานขั้นต่ำ  แต่เมื่อใช้แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน รายได้ที่เป็นเงินสด ในแต่ละวันประมาณ 180-210 บาท โดยเฉลี่ย  เงินระหว่างทางหายไปไหนคิดเป็นค่าที่พัก (ดูเหมือนว่าให้อยู่ฟรี จริงๆแล้วหักไว้เบ็ดเสร็จแล้ว) ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าพาขึ้นทะเบียนแรงงานอย่างถูกระเบียบตามกฎหมาย ซึ่งผู้รับเหมาจะเป็นผู้จ้างให้ก่อน แล้วหักจากค่าจ้างรายวัน

          การเดินทางเข้ามาของครอบครัวชาวกัมพูชา พม่า ลาว  จะมีผู้ติดตามมาด้วย โดยเฉพาะลูกหรือหลานที่ไม่มีใครเลี้ยงดู ณ.ประเทศต้นทาง ของแรงงานเหล่านั้น เด็กชาวกัมพูชาที่ติดตามพ่อแม่หรือญาติมายังประเทศไทย หรือจังหวัดระหว่างชายแดน เขาเหล่านั้นต้องประสบปัญหาอะไรบ้าง สิ่งที่ต้องเผชิญได้แก่

           1.โอกาสทางการศึกษา ทั้งการเรียนที่ประเทศต้นทาง หรือจะมาเรียนหนังสือในประเทศไทย ไม่มีโอกาสเลย  ยกเว้นในแหล่งก่อสร้างนั้นจะมีศูนย์การเรียนการสอน  เช่น ศูนย์เด็กก่อสร้าง  มีแห่งเดียวในประเทศไทย  ซึ่งทางโครงการศูนย์เด็กก่อสร้างคาดหวังว่า ในอนาคตจะมีอาสาสมัครหรือเด็กชาวกัมพูชาที่ได้มีโอกาสเรียนมาเป็นอาสาสมัครในการสอนให้เด็กเหล่านี้ได้มีโอกาสรู้หนังสือภาษาของเขาเอง

คำอธิบาย: http://i1193.photobucket.com/albums/aa352/fblc_th/Kru%20Jew/school/IMG_0687.jpg 

           2.ความกลัว ซึ่งจะเกิดขึ้นกับเด็กลูกกรรมกรก่อสร้างในแหล่งก่อสร้าง  เพราะจะมีกวาดล้างกันอย่างสม่ำเสมอ กลัวคนแปลกหน้า หรือการที่ถูกถ่ายทอดกันมาจากพ่อแม่พี่น้อง ไม่ให้ไว้วางใจ  ทำให้มีความหวาดระแวงสูงมาก กับคนไทย  อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือการที่พูดภาษาไทย หรือการสื่อสารภาษาไทยไม่ได้ ทำให้เด็กเหล่านี้อายหรือไม่ยอมพูดจา บางคนเก็บตัวอยู่แต่ในห้องพัก มีบางคนก็ไม่ยอมพูดกับใครเลย เพราะพูดไม่ได้  จนกว่าเขาจะเริ่มหัดพูด  แล้วทำให้เกิดการเครียดกับตัวเด็กเอง  การสื่อสารไม่ได้ทำให้เด็กไม่อยากพูดคุยเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กไม่ต้องการที่จะเรียนรู้เรื่องอื่นๆ  สิ่งเหล่านี้ถ้ามีศูนย์การเรียนหรือมีอาสาสมัครเข้าไปทำกิจกรรมจะช่วยเด็กได้มาก

           3.เด็กบางคนที่อยู่ในบ้านพักกรรมกรก่อสร้างที่ไม่ได้มีระบบการดูแลจากพ่อบ้านหรือ การจัดระเบียบที่ดีของผู้รับเหมา  เด็กลูกกรรมก่อสร้างนานาชาติเหล่านี้จะถูกทิ้งให้อยู่ตามลำพังในบ้านพักกรรก่อสร้าง โดยเฉพาะห้องพักขาดความปลอดภัยและไม่เหมาะสมกับการอยู่  บางแห่งยังใช้เศาไม้อัด หรือสังกะสี ทำห้องพักให้กับกรรมกรก่อสร้าง  หรือบางแห่งครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นที่จังหวัดปทุมธานี ได้นำกรรมกรก่อสร้างทั้งครอบคัวเข้าไปอาศัยใต้ถุนตึกที่ชั้นบนสร้างเสร็จแล้วกลายเป็นโศกนาฎกรรมอีกครั้งหนึ่งของผู้รับเหมาก่อสร้างที่จะประหยัดงบประมาณเรื่องบ้านพักอย่างปลอดภัย หรือกรณีที่มีเด็กหายจากบ้านพักกรรมกรก่อสร้าง แต่เด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศจากกรรมกรก่อสร้างชาวกัมพูชาด้วยกันเอง   จะเห็นได้ว่าความปลอดภัยเหล่านี้ไม่มีเลยกับเด็กลูกกรรมกรก่อสร้างนานาชาติ.

 

            4.ความแออัด และความไม่ปลอดภัย ในระหว่างการเดินทางจากจังหวัดชายแดน เข้ามาสู่แหล่งก่อสร้างขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร จากการเดินทางบางครั้งอาศัยรถกะบะมา หรือใช้รถตู้ รถแท๊กซี่ โดยจะอัดกันแน่นมาก  การเดินทางที่ใช้ระยะเวลานานการนั่งแบบยัดกันมาทำให้เด็กเหล่านี้เกิดความเจ็บป่วยเกิดขึ้น หรือมีบางครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ  จึงเป็นอีกเหตุหนึ่งที่ไม่ปลอดภัย

            5.ความแตกต่างทางวัฒนธรรมปฏิบัติ ระหว่างประเทศต้นทางที่เคยอยู่ แบบชนบท  แต่ต้องมาปฏิบัติแบบสังคมเมืองที่มีความหลากหลายในการอยู่รวมกันเป็นพันครอบครัวทำให้เด็กเหล่านี้เกิดความหวาดระแวงและสิ่งที่สำคัญคือการปรับตัวที่จะเกิดขึ้น  หรือเรื่องอาหารการกินที่มีความแตกต่าง  ตลอดจนการใช้ห้องส้วม ห้องอาบน้ำ หรือแม้แต่การตากเสื้อผ้า ที่ต้องคอยดูไม่อย่างนั้นจะเกิดการหาย ทำให้ทุกคนต้องดูแลสิ่งของของคนในครอบครัว ถ้าสิ่งของหายเด็กจะถูกทำโทษจากพ่อแม่พี่น้อง  กลายเป็นการทำโทษที่รุนแรงกว่าเหตุ

 

            6.ความรับผิดชอบของเด็กลูกกรรมกรก่อสร้าง โดยเฉพาะกลุ่มเด็กสาวที่ต้องมีหน้าที่ในกรดูแลคนในครอบครัวตั้งแต่เรื่องอาหาร เรื่องเสื้อผ้า เรื่องความสะอาดในห้องพัก  สิ่งเหล่านี้บางครั้งกลายเป็นภาระของเด็กที่ต้องทำ  เพราะคนในครอบครัวเป็นผู้หาเลี้ยง  เด็กเหล่านี้ต้องดูงานบ้านทั้งหมด  กลายเป็นคนรับใช้ดีๆของครอบครัวที่อาศัยอยู่ในต่างแดน

            7.เด็กลูกกรรมก่อสร้างเหล่านี้จะขาดการเอาใจใส่จากคนในครอบครัวด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่ใช่เป็นคนทำเงินให้ครอบครัว  เป็นเพียงผู้ที่พ่อแม่ต้องดูแล  จึงไม่ค่อยได้ดูแลเรื่องอาหารการกินของลูก  บางครั้งแค่ทำกินเฉพาะคนที่ไปทำงาน แต่เด็กเหล่านี้กลับทิ้งไว้ที่ห้องพักขาดอาหารการกิน บางครอบครัวทั้งอาหารเช้า กลางวัน เด็กไม่ได้กินเลย มากินอาหารเย็นพร้อมครอบครัวเลย ความรักความอบอุ่นในครอบครัวค่อนข้างจะมีน้อย  สิ่งที่เกิดขึ้นอีกประเด็นคือการหย่าร้างกันเร็ว  และการแต่งงานกันอายุน้อย ของแรงงานต่างชาติมีจำนวนมาก  ขาดการวางแผนครอบครัว

 

             8.เด็กลูกกรรมกรก่อสร้างที่เข้าสู่กระบวนการแรงงานเด็ก สิ่งที่พบคือเด็กเหล่านี้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด  โดยเฉพาะยาที่คิดว่าเป็นการเสริมพลัง ทำให้มีแรงในการทำงานได้มาก โดยเฉพาะยาบ้า  ที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยไม่รู้ตัว  ทำให้รายได้ที่ได้มาหมดกับยาเสพติดเป็นส่วนใหญ่

             สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า เด็กลูกกรรมกรก่อสร้างที่เป็นเด็กนานาชาติได้รับปัญหาหลายเรื่องด้วยกัน  เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กเกิดความเครียดและไม่มีความสุขในการที่จะมาอยู่กับครอบครัว  แต่การถูกทิ้งให้อยู่ที่ประเทศต้นทาง เด็กเหล่านี้ก็เสี่ยงที่จะประสบปัญหาคล้ายๆกัน 

             ในบริษัทก่อสร้างไหนที่มีงบประมาณ หรือเห็นความสำคัญ จะมีการดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็ก เช่น โครงการศูนย์เด็กก่อสร้าง  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก  สิ่งที่ดำเนินการในขณะนี้ได้แก่

            1.การจัดการเรียนการสอนให้กับเด็ก  โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกันในขณะนี้ คือ

 

             กลุ่มเด็กช่วงอายุ 2-5 ปี เป็นกลุ่มเด็กเล็กที่จะมาเรียนพร้อมกับพี่ๆ กลุ่มนี้จะเริ่มหัดการพูด ก-ฮ การท่องคำกลอนง่ายๆ การฝึกระบายสี ฝึกกล้ามเนื้อใหญ่ ฝึกการปั้นดินน้ำมัน  ตลอดจนการฝึกเขียนตามรอยปะ  การฟังนิทาน และการฟังเพลงจากซีดีหรือแผ่นหนังของเด็กฝึกพูด

             กลุ่มเด็กช่วงอายุ 6-12 ปี เป็นกลุ่มเด็กโต บางคนเคยเรียนหนังสือในประเทศต้นทาง และมีบางคนที่ไม่เคยเรียนหนังสือมาเลย  กลุ่มนี้เด็กจะเรียนการอ่านการเขียน การฝึกพูด การผสมสระ การคิดเลข  ตลอดจนการฟังภาษาไทย การฝึกพูดภาษาไทย  การหัดวาดภาพ  การทำงานศิลปะ ตลอดจนการฝึกอาชีพเป็นครั้งคราว  ชุดนี้เป็นเด็กที่ตั้งใจเรียนสูงมาก เมื่อทำงานในครอบครัวเสร็จจะมาอยู่ที่ศูนย์เด็กก่อสร้างจนค่ำมืดทุกวัน ด้วยเหตุผลที่อยากเรียนหนังสือต่อในช่วงกลางคืน

             กลุ่มช่วงแรงงานเด็ก ในช่วงอายุ 13-15 ปี เด็กกลุ่มนี้กลางวันไปทำงาน จะกลับมาใช้บริการที่ศูนย์ในช่วงกลางคืน หรือบางครั้งในช่วงวันหยุด ขอเข้ามาเรียนหัดคัดตัวอักษรภาษาไทย ตลอดจนการฝึกอ่าน และการเขียนชื่อตนเองที่เป็นภาษาไทย

 

            2.กลุ่มที่ต้องดูแลเรื่องอาหารว่างและนมกล่อง ส่วนมากเป็นกลุ่มเด็กเล็ก และการฉีดวัคซีน การรับวัคซีน อาหารเสริม หรือเมื่อเวลาเจ็บป่วยเด็กกลุ่มนี้จะพาไปคลีนิคที่ไหน หรือศูนย์สาธารณสุขที่ไหน ที่ใกล้ที่สุด ส่วนหนึ่งจะเป็นกลุ่มที่ตั้งครรภ์ และส่วนมากก็ไม่ฝากท้องเพราะกลัวเรื่องค่าใช้จ่าย  โดยกลุ่มแม่เหล่านี้คาดหวังว่าเมื่อถึงเวลาคลอดจะกลับไปประเทศต้นทาง

             3.การดูแลเรื่องสุขภาพของเด็ก  โดยเฉพาะการประสานงานกับศูนย์สาธารณสุขเคลื่อนที่ ในการฉีดวัคซีน การดูสุขภาพ หรือการรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐาน เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุผลที่ว่า เมื่อการเจ็บป่วยเด็กลูกกรรมกรก่อสร้างพ่อแม่จะไม่กล้าพาไปหาหมอ เพราะเมื่อมีการรักษาที่โรงพยาบาลสิ่งที่เกิดขึ้น โรงพยาบาลจะแจ้งความไปที่ตำรวจ ทั้งเด็กและครอบครัวจะส่งกลับ ซึ่งนั้นหายถึงภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นจำนวนมากกับครอบครัว จึงใช้วิธีการซื้อยากินเอง หรือถ้าป่วยมากๆก็จะพากันเดินทางกลับไปรักษาที่ประเทศต้นทาง  บางครั้งก็มีการตายระหว่างเดินทางกลับ

คำอธิบาย: http://i1193.photobucket.com/albums/aa352/fblc_th/Kru%20Jew/school/IMG_1201.jpg

             4.ทางโครงการได้เสริมกระบวนการทักษะชีวิตของเด็กเหล่านั้น เช่นการพาไปทัศนศึกษาสวนสัตว์ดุสิต  เล่นน้ำทะเลที่ทะเลบางแสน หรือเล่นเครื่องเล่นดรีมเวริด  เป็นกิจกรรมที่เสริมให้เด็กลูกกรรมกรก่อสร้างนานาชาติได้เรียนรู้ และเห็นวิถีชีวิตของเด็กกลุ่มอื่นด้วย  เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกิจกรรมในการเรียนรู้ร่วมกัน  และบางครั้งจะมีกลุ่มนักศึกษาของสถาบันต่างๆมาจัดกิจกรรมหรือมาทำกิจกรรมทักษะ ได้แก่การทำงานเป็นทีม  การฝึกการอ่านเขียนภาษาไทย  การเล่านิทานที่เป็นจินตนาการของเด็ก การดูแลสุขภาพของเด็ก หรือการวางแผนครอบครัวสรีระร่างกายเด็กเอง  หรือบางกลุ่มก็หาซื้อเสื้อผ้าชั้นในให้กับเด็กผู้หญิงที่เริ่มเป็นสาวด้วยเหตุผล ว่าถ้าครอบครัวไม่มีงบประมาณที่จะซื้อเสื้อผ้าเหล่านี้ให้กับเด็ก ตลอดจนการดูแลตนเองให้ปลอดภัยทั้งเรื่อง การเล่น การพูดคน การวางตัวของเด็กแต่ละคนด้วย เพราะเด็กเริ่มเป็นสาว

             5.การสื่อสารเชิงสร้างสรรค์  เป็นการจัดกลุ่มพูดคุยเน้นไปเรื่องการอยู่ด้วยกันในสังคมของแห่งบ้านพักกรรมกรก่อสร้าง ทั้วหลากหลายทางชาติพันธุ์ ทั้ง ลาว พม่า กัมพูชา และไทย  โดยเน้นการให้ความเคราพซึ่งกันและกันทั้งวัฒนธรรม ประเพณี  ตลอดจนการปฏิบัติ เพื่อการกลมกลืนอยู่ด้วยกันอย่างพี่น้อง ที่อยู่ในบ้านพักกรรมก่อสร้างในแคมป์เดียวกัน

             สิ่งที่ทางโครงการได้ดำเนินการ ยังไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมด แต่ได้ดำเนินทำเท่าที่ทำได้ ต้องการหน่วยงานต่างๆเข้าเสริมในการทำงานด้วย

             1.หน่วยงานทางสาธารณสุข  เข้ามาจัดบริการเคลื่อนที่ตรวจสุขภาพให้กับเด็กและครอบครัวในบ้านพักกรรมกรก่อสร้าง และมาดูเรื่องความปลอดภัย การจัดการสิ่งแวดล้อมของบ้านพักด้วย

             2.อาสาสมัครที่พูดภาษากัมพูชา มาคุยเรื่องการวางแผนครอบครัว เรื่องโรคเอดส์ การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย   การทำงานอย่างปลอดภัยไม่มีอันตราย  การปฏิบัติตัวของเด็กวัยรุ่นอย่างมีคุณค่า  และเรื่องยาเสพติด เป็นต้น

           เพื่อต้องการพัฒนาเด็กและเยาวชนเหล่านี้ได้ได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ ว่าเด็กลูกกรรมกรก่อสร้างเหล่านั้นจะเป็นชนชาติไหน