banner
อังคาร ที่ 17 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2560 แก้ไข admin

ทุกข์ของแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว ในกระบวนการยุติธรรม (ตอนที่สอง)

 

นางสาวทองพูล  บัวศรี

ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

 

          เมื่อผู้บังคับใช้กฎหมายกับกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว ที่แตกต่างต่างกันใช้กฎหมายคนละฉบับ  ถึงอย่างไรกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าวก็มีความผิดทุกประการ   ถ้ามีคำถามว่าผิดไหม   คนทำงานอย่างครูจิ๋ว ที่เป็นคนไทยอยู่ภายใต้กฎหมายไทย  ตอบตรงๆ ว่าผิดทุกประการ

          มีนายตำรวจท่านหนึ่ง ย้อนถามครูว่า  แล้วจะให้คนเหล่านี้อยู่อย่างนี้หรือ

          ครูตอบทันทีว่า  กฎหมายมีตั้งหลายฉบับ  ทำไมไม่ใช้ที่มันเป็นคุณกับกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว    มองคนเหล่านี้ที่เป็นกลุ่มที่ต้องให้การช่วยเหลือ    เขาต้องการความช่วยเหลือ คนเข้าใจที่ผลัดพลาดมาจากแผ่นดินแม่   เพื่อให้ชีวิตคนในครอบครัวอยู่รอด

          ถ้าคิดอย่างครู  คนต่างด้าวก็เต็มประเทศไทยหมด  เอาเวลาไปทำอย่างอื่นเถิดครู

          ครูเลยอยากถามว่า      เป็นผู้บังคับใช้กฎหมายรู้จักสิทธิมนุษยชนบ้างไหม     อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก  กันบ้างไหม     เขาเหล่าเป็นคนเหมือนกับเรา    ต่างกันแค่เชื้อชาติเท่านั้นเอง.....

          ผมไม่รู้หรอก เรื่องความเมตตา  ผมรู้แต่กฎหมายที่ผมใช้เท่านั้น

  

          ผมจับเพราะเขาเหล่านั้นเข้าเมืองผิดกฎหมายครับ ครู   ผมจำเป็นต้องแยกเด็กส่งเข้าสถานสงเคราะห์  เพราะเป็นหน้าที่ผม  พบเห็นเชิงประจักษ์

          บทสนทนาข้างต้น เป็นการพูดคุยกันในที่ประชุมแห่งหนึ่ง ในเรื่องการประชุมแผนปฏิบัติการ เรื่องหนึ่ง  เห็นได้ชัดว่า     ความเข้าใจเรื่องคนเข้าเมืองผิดกฎหมายยังเป็นช่องว่าง   ระหว่างความคิดในการทำงาน    ตามตัวบทกฎหมาย....

          กลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าวที่ออกมาใช้ชีวิตบนถนน ตั้งแต่การออกมาขายของ ตั้งแต่การเครื่องใช้   ดอกไม้ ขายร่วม  สิ่งของเช่นลูกอม   ขายขนม ตลอดจนถึงขายสบู่  ของเล่นของเด็ก  บางครอบครัวก็ยึดการขัดรองเท้า   สำหรับบางครอบคัวแม่ก็จะพาลูกออกมาขอเงิน   บางคนมีการก่ออาชญากรรมด้วย    เด็กผู้หญิงบางคนก็เดินเที่ยว    แล้วแต่โอกาสบางคนก็ขายบริการทางเพศ 

          กลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว  อยู่ใช้ถนนเป็นเส้นทางซอยอโศก  สุขุมวิท 17  ซอยนานา  เรื่อยมาประตูน้ำ  หน้าห้างบิ๊กซีราชประสงค์   หน้าสยาม จนถึงมาบุญครอง

          ผู้บังคับใช้กฎหมายสำหรับจะจับบุคคลกลุ่มนี้ คือผู้บังคับกฎหมายที่สังกัด  สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง   สำนักและสถานที่กักกันอยู่ที่ซอยสวนพลู     (กลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าวกลุ่มนี้รู้จักกันเป็นอย่างดี)    บางคนอธิบายให้ครูฟังอย่างละเอียดถึงที่พัก ที่นอน  อาหารการกิน   ในห้องกักที่อยู่รวมกันเป็นร้อยคน  ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

          ตัวอย่างในการจับกุม    กรณีของครอบครัวนาง เทส ขุด   ที่มีลูกจำนวนด้วยกัน 7  คน  จำนวนสามี  4 คน  สามีแต่ละคนก็มาพบเจอกันที่ประเทศไทย กลายมาเป็นคู่ทุกข์คู้ยาก   ลำบากกันทุกคน    มีสองคนที่เสียชีวิตไปแล้ว   ภาระทั้งหลายจึงอยู่กับนางเทศ ขุด   ลูกชายลูกคนที่โตแล้ว   ถูกส่งกลับไปอยู่ที่กัมพูชา  ในฐานะเหยื่อของการค้ามนุษย์  ยังอยู่ในองค์กรพัฒนาเอกชน ที่ถูกส่งตัวไปฝึกอาชีพ  กว่าสามปีแล้ว....ส่วนอีกเด็กอีกห้าคน     สามีคนที่สามมีลูกด้วยกันสองคน   ตอนนี้คนที่สามเรียนที่โรงเรียนในประเทศไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ห้า แล้ว   คนที่สี่กับคนที่ห้า ก็เข้าเรียน  ถือว่าโชคดี ทั้งสามคน   ส่วนคนที่หก  อยู่กับญาติฝ่ายพ่อที่กัมพูชา    คนเล็กสุดที่ใครก็เห็น  เป็นลูกสามีคนสุดท้ายที่หายไปแล้ว ทิ้งลูกคนสุดท้องให้ดูต่างหน้า  ที่ต้องเลี้ยงมาตั้งแต่แบเบาะ


  

          ลูกคนเล็กจะไปกับฉันทุกแห่ง  เป็นต้นเหตุให้ถูกจับเมื่อปลายปีที่แล้ว  เพราะเตรียมตัวกลับที่พักกันแล้ว   ลูกคนเล็กเกิดปวดท้อง  จึงพาลูกเข้าห้องน้ำที่ห้างบิ๊กซีราชประสงค์ เดินออกมาถูกจับทันทีว่า     เข้าเมืองผิดกฎหมาย      อยู่ในประเทศไทยผิดกฎหมายด้วย   รวมแล้วสองกระทง

          ฉันกับลูกผิดจริง จริง    แต่ด้วยภาวะที่เล่ามาตั้งแต่เบื้องต้น   ภาระในการเลี้ยงลูกทั้งหมดอยู่กับฉันคนเดียว    

          ครูฉันเองก็ป่วยมาปีกว่าแล้ว    ที่แน่ แน่ ฉันมีวัณโรคที่ต้องรักษาต่อเนื่อง  ต้องมียากินตลอดเวลากว่า ปีแล้ว     ฉันบอกตำรวจที่จับฉันไปว่าฉันมีโรคอยู่นะ      ตำรวจจึงเอาลูกคนเล็กของฉันส่งที่สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนปากเกร็ด

          ด้วยฉันอยู่ในภาวะที่เป็นโรคที่ต้องได้รับการดูแล    ต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง  ฉันเล่าให้ตำรวจฟัง    เขาบอกว่าเขาต้องทำตามขั้นตอน    

          ชั้นอยู่ชั้นสองของห้องกัน  ห้องที่ 12  มีอยู่กันประมาณ    100  กว่า คนทั้งแม่และเด็ก  อยู่ด้วยกันหลายเชื้อชาติ   กัมพูชา ลาว เวียดนาม พม่า  มอญ โรฮิงยา  จีนฮ้อ  เกาหลีเหนือ   และมีโรมาเนีย   แม่ลูกอีกสามคู่    ที่เป็นครอบครัวแม่คู่กว่าทั้งหมดสิบสามคู่  ด้วยกัน


          ห้องกว่าประมาณสัก   7    เมตร  ยาวประมาณ  เมตร  มีห้องอาบน้ำ  ห้องส้วมอย่างละ สองห้อง  ที่เปิดกว้าง  เห็นกันหมด   ดีนะที่ยังมีการแยกห้อง  แต่ละชั้นเป็นชาย เป็นหญิง    มีลูกกรงถาวรที่รอบล้อม    แค่นิ้วมือยังออกไม่ได้เลย     อยู่กันอย่างนี้ทั้งวันและคืน     แต่ก็ดีกว่าอยู่เรือนจำ

          นางเทส  ขุด    บอกว่าอากาศข้างนอกที่ว่าอบอ้าว   แล้ว  อย่าเทียบกับในห้องกัก     มันทั้งแออัด  ทั้งกลิ่นคน     เสียงร้องไห้ของเด็กที่ทะเลาะกับแม่หรือบางครั้งเด็กกับเด็กก็ทะเลาะกันเอง   ตามประสาที่เด็กได้เล่นกัน     

          แต่สำหรับสิ่งที่เฝ้ารอคอยในระยะเวลากว่า 8 สัปดาห์  แสนทรมาน คือการเฝ้าคอยว่าลูกน้อยของฉันเมื่อไรจะกลับมาอยู่ในอ้อมอกแม่  ถึงจะอดไม่มีกินอย่างไรก็ขอให้อยู่ด้วยกัน    จนครูทั้งสองคนมาเยี่ยมที่ห้องกัก    ในการเยี่ยมครั้งนั้นนำตาของฉันมันไหลออกมาโดยไม่รู้ตัวเลย    มันบอกไม่ถูก  ฉันคิดตลอดเวลาว่าครูเท่านั้นที่จะลูกมาคืนฉันได้

          ฉันเห็นครูเหมือนนางฟ้ามาโปรด     ถึงแม้จะต้องตระโกนคุยกัน  คุยกันได้ไม่อีกคำ   เพราะคนมันเยอะ  และระยะห่างที่กันกลางระหว่างทั้งครูและฉันกว่าสองเมตรที่มีฉากกัน    เป็นครั้งแรกเหมือนกันในชีวิตที่มีคนมาเยี่ยม  ถูกเบิกตัวมาเหมือนนักโทษ  คดีอาชญากรรม   แต่อย่างไรฉันยอมหมดขอเพียงแค่ได้ลูกคืนมาเท่านั้น

          หลังจากนั้นฉันเฝ้าคอยตลอดเวลาว่าครูดำเนินการอย่างไร    ถึงจะถึงคิวทางตำรวจส่งฉันกลับไปประเทศต้นทาง   ฉันยืนยันคำเดียวว่ายังไม่กลับรอลูกพร้อมกัน   สุดท้ายตำรวจก็กักฉันต่อ    ฉันเองรอคอยครูดำเนินการ  ถึงแม้ความหวังจะน้อยนิดแค่ไหน  ฉันก็ยอมทั้งนั้น 

          สำหรับครูเองตามจนรู้ว่านายตำรวจท่านไหนเป็นเจ้าของคดี  ของนางเทส  ขุด   แล้วเล่าเรื่องอาการป่วยให้ฟังว่า ปานนี้วัณโรคได้แพร่ขยายไปยังคนอื่นแล้วนะ   เพราะยาหมดมาแล้วสองสัปดาห์   จนนัดวันไปรับเด็ก   โดยทางตำรวจต้องเอารถส่วนตัวไปรับเด็กเอง    รอรถราชการต้องรอไปกี่สองเดือนถึงจะถึงคิว   

          ครูเป็นคนอุ้มเด็กน้อยสองคนมาหาแม่  พร้อมนายตำรวจเจ้าของคดีมาส่งด้วยตัวเอง  ส่งมาถึงอก  อ้อมกอดของแม่    บอกไม่ถูกในความรู้สึก  รู้อย่างเดียวว่าต้องเอาลูกคืนมาให้แม่ก่อนกลับประเทศให้ได้   


          สำหรับครูเองมีเคสที่ถูกส่งกลับแล้วมารับลูก  ต้องใช้เวลาอีกกว่า สองปีก็มี  ด้วยเหตุผลคือไม่มีใบเกิดเด็ก   ไม่มีผลตรวจ  DNA     ไม่มีคำสั่งที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง   เพราะใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ คนเข้าเมืองผิดกฎหมาย  เด็กเหล่านี้ค้างอยู่ตามสถานสงเคราะห์ เป็นการคุ้มครองเด็กตามกฎหมายที่กำหนด   แล้วให้ความเป็นพ่อแม่ได้หรือเปล่า   หรือจะมีการฟื้นฟูครอบครัวเหล่านี้อย่างไร  ที่ไม่ให้เด็กตกเป็นเครื่องมือของผู้ใหญ่    ต้องคุยกันเป็นรายกรณีแล้วลงงานกันอย่างถึงครอบครัวดีกว่าไหม

          กระบวนการเหล่านี้คือการพรากความเป็นครอบครัว   ถึงแม้ผู้บังคับใช้กฎหมายจะบอกว่า ปฏิบัติตามตัวบทกฎหมาย  รวมถึงกระบวนการส่งกลับ  ที่ต้องมีหน่วยงานของประเทศต้นทางมารับ  แล้วทำงานด้วยกัน  เพราะการส่งกลับที่ชายแดนคงไม่ใช่คำตอบ 

          อย่างที่มีใครต่อใครชอบพูดกันว่า  คนส่งยังกลับไม่ถึงเลยที่กรุงเทพมหานคร  แต่เคสกลับมาถึงแล้ว   ต้องกลับมาทบทวนกระบวนการส่งกลับอย่างมีคุณภาพดีกว่าไหม

          แต่สิ่งหนึ่งที่ครูพร้อมเครือข่ายที่ทำงานอย่างต่อเนื่อง  ควบคุมการทำงานสร้างพลังบวกให้ครอบครัวของเด็กมีทางเลือกในการประกอบอาชีพ   เขาต้องการการขึ้นทะเบียนที่ถูกต้องตามกฎหมาย  มีกองทุนฉุกเฉินให้ พวกเขายืมก่อนไหม

          หรือมีกองทุนสนับสนุนค่าครองชีพเวลาที่แม่ถูกจับไป  แต่เด็กยังอยู่กับพี่น้อง หรือบางคนก็อยู่ตามลำพัง   การหาทางออกให้เด็กในอาเซียนมีที่ยืนบนสังคมนี้   มากกว่ากวดจับ   แต่ควรทำงานควบคู่กับงานเชิงรุกและลึกอย่างจริงจัง 

          พร้อมมาทำและเรียนรู้ด้วยกันค่ะ....เพื่อให้เด็กทุกคนได้รับประโยชน์สูงสุด  อย่างเป็นจริง  ไม่ใช่อยู่ในกระดาษเท่านั้น.....